จิตรกรรมมุขทิศตะวันตกฝั่งด้านใต้ 1.1

Category:

Description

Digital Data

TITLE:
น่าน
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
DESCRIPTION:

จิตรกรรมเรื่อง เนมิราชชาดก โดยเริ่มเล่าเรื่องจิตรกรรมที่ฝั่งซ้ายหรือ ด้านทิศใต้ของฝาผนังของมุขทิศตะวันตก เป็นเหตุการณ์เริ่มเรื่องปราสาทเมืองมิถิลา ที่พระอินทร์จึงทรงมีพระบัญชาให้พระมาตุลีบุตรขับเวชยันตราชรถลงมารับพระเจ้าเนมิราช เพื่อไปท่องสวรรค์และนรก ในภาพจิตรกรรมเริ่มเล่าเรื่องที่บริเวณที่ภาพปราสาทเมืองมิถิลา ที่อยู่บริเวณเหนือหน้าต่าง มีเหตุการณ์เกิดขึ้น 2 เหตุการณ์ คือมีเริ่องราวทั้งสองด้านของปราสาท โดยที่ฝั่งด้านซ้ายของปราสาทเป็นการเริ่มเรื่อง เนมิราชชาดก คือที่พระเจ้าเนมิราชขึ้นเวชยันตราราชรถไปท่องแดนนรกและสวรรค์ และฝั่งด้านขวาของปราสาทเป็นตอนจบ ของเนมิราชชาดก หลังจากพระเจ้าเนมิราชเสด็จกลับจากแดนนรกและสวรรค์ พระองค์ทรงนำสิ่งที่เจอไปเล่าให้ประชาชนในเมืองมิถิลาฟัง ทำให้ประชาชนรักในการทำความดีซึ่งเป็นผลให้เมืองนี้มีความสุขต่อๆมา

ภาพจิตรกรรมบริเวณฝั่งด้านซ้ายของปราสาทเป็นการเริ่มเรื่อง เนมิราชชาดก เป็นเหตุการณ์ที่พระเจ้าเนมิราชขึ้นเวชยันตราราชรถไปท่องแดนนรกและสวรรค์ เป็นภาพพระมหาเทวีทรงยืนอยู่ข้างปราสาทเมืองมิถิลา เอาพระหัตถ์ป้องพระพักตร์ และทอดพระเนตรขึ้นไปบนท้องฟ้า รอบข้างพระมหาเทวีมีเสนาอมาตย์และเหล่าสนมกำนัล เฝ้าแหนแวดล้อมเป็นจำนวนมาก ด้านนอกกำแพงวังมีชาวยาง 2 คน (ชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่ในเมืองน่าน) ชี้ชวนกันดูเวชยันตราราชรถ ภาพจิตรกรรมเล่าเรื่องไปด้านบนของภาพ เป็นตอนที่พระเจ้าเนมิราชขึ้นเวชยันตราราชรถไปท่องแดนนรกและสวรรค์ 

ส่วนภาพจิตรกรรมฝั่งขวาของปราสาทเมืองมิถิลา เป็นตอนจบ ของเนมิราชชาดก หลังจากพระเจ้าเนมิราชเสด็จกลับจากแดนนรกและสวรรค์ พระองค์ทรงนำสิ่งที่เจอไปเล่าให้ประชาชนในเมืองมิถิลาฟัง ทำให้ประชาชนรักในการทำความดีซึ่งเป็นผลให้เมืองนี้มีความสุขต่อๆมา ส่วนภาพบริเวณเสาของวิหาร เป็นเรื่องราวด้านนอกพระราชวัง ที่ผู้เขียนภาพอาจจะต้องการสอดแทรกเรื่องราวต่างๆของสังคมมืองน่านในยุคนั้นลงไปในภาพจิตรกรรมด้วย จิตรกรรมในช่วงกลางน่าจะเป็นชนกลุ่มน้อยอีกกลุ่มที่อาศัยอยู่ในเมืองน่าน ขณะเดินนำของจากป่าหรือที่ตนผลิตได้ นำมาขายในเมืองน่าน โดยมีภาพหมาคอยไล่เห่า เพราะเห็นเป็นคนแปลกหน้า ส่วนจิตรกรรมด้านล่างสุดของเสา ยาวต่อเนื่องไปจนหมดผนังด้านนี้ ยังเป็นภาพจิตรกรรมของ ช้างและคนเลี้ยงช้าง ที่ในอดีตมีอยู่อย่างมากในเมืองน่านในยุคนั้น และมีจิตรกรรมที่พิเศษคือ ภาพจิตรกรรมของวานรในท่าเสพสังวาส ที่วาดไว้มีขนาดใหญ่พอสมควร ในที่นี้ภาพจิตรกรรมวานรเสพสังวาสนี้ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องราวมนฝาผนังมุขทิศตะวันตกนี้ สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นการวาดเพิ่อให้ผู้ชมมีอารมณ์ผ่อนคลายและขบขัน เนื่องจากจิตรกรรมอีกด้านเป็นภาพภพภูมิในนรก ที่ดูแล้วทำให้เกิดความน่ากลัวและสยดสยอง จึงได้วาดภาพจิตรกรรมให้เกิดการเปลี่ยนอารมณ์และความรู้สึกบ้าง

PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
07/02/2558
RESOURCE TYPE:
จิตรกรรมฝาผนัง
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
จิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
COVERAGE:
วัดภูมินทร์ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
น่าน
IMAGE CODE:
000
SUBJECT AGE:
CATEGORY:
จิตรกรรมฝาผนัง
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
วัดภูมินทร์ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย view map
ORIGINAL SIZE:
11.43×6.82 เมตร(ขนาดรวมทั้งฝาผนัง)
DIGITAL SIZE:
76,603×25,593 Pixels