จิตรกรรมฝามุขทิศตะวันออกฝั่งด้านใต้ 1.15

Category:

Description

Digital Data

TITLE:
น่าน
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
DESCRIPTION:

ภาพเขียนจิตรกรรมบริเวณด้านล่างซ้ายสุด ข้างหน้าต่างและบริเวณเสาของวิหาร เขียนภาพเหล่าเสนาอมาตย์ที่มาเข้าเฝ้าชายเกวียนร้อยเล่ม เเละนางคำสิง ที่ประทับอยู่ในปราสาท ซึ่งเป็นเรื่องราวภายหลังจากเจ้าคัทธณะกุมารได้ชุบชีวิตเจ้าเมืองเเละชาวเมืองให้ฟื้นคืนจากความตาย ครั้นเมื่อชาวเมืองฟื้นจากความตายพญาชวาทวดีจึงยกเมืองและนางคำสิงแก่เจ้าคัทธณะกุมาร และแต่งตั้งให้ชายเกวียนร้อยเล่มเป็นอุปราชแสนเมือง ครั้นเวลาล่วงมาได้ 1 เดือน จึงคิดออกตามหาพระบิดา จึงยกเมืองชวาทวดีและนางคำสิงแก่ชายเกวียนร้อยเล่ม ในบริเวณนี้มีอักษรล้านนากำกับอยู่ บริเวณด้านใต้ของกำแพงระเบียง อ่านได้ความว่า “….ข…ไ…ครา…ทั้งมวลแล” ทั้งนี้ชุดอักษรดังกล่าวลบเลือนไปมาก จึงไม่สามารถอ่านเเละแปลความหมายได้

ภายในปราสาทเขียนภาพชายเกวียนร้อยเล่ม เเละนางสิงคำ ประทับอยู่บนที่นอน หรือ “สะลี” (สะ – ลี) ในภาษาล้าน หนุนหมอนขวานที่มีลักษณะเป็นหมอนสูงสามเหลี่ยมที่ในล้านนาเรียกว่า “หมอนผา” เเละหมอนสี่เหลี่ยม เรียกว่า “หมอนสี่ หรือ หมอนหก” ในภาษาล้านนา ในภาพหมอนทั้งสองใบมีการปักตกเเต่งด้วยลวดลายที่หน้าหมอนด้วยดิ้นทอง หรือ ดิ้นเงิน ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันมากในล้านนา ส่วนเบื้องหน้าของปราสาทที่ประทับมีพระวิสูตร หรือ ผ้าม่านลวดลายดอกไม้ขนาดใหญ่กางกั้นอยู่ ซึ่งน่าจะเป็นผ้าที่นำเข้ามาจากประเทศ 

ในภาพนางคำสิงแต่งกายแบบหญิงชาวไทยวนในล้านนา คือ นำผ้าแถบมาห่มห้อยชายไปด้านหลัง คล้ายการห่มสไบเรียกว่า “ห่มผ้าสะหว้ายแล่ง” ในภาษาล้านนา ไว้ผมยาวทำผมมุ่นมวยเรียกว่าเกล้าแบบ “วิดว้อง” ไว้กลางศีรษะ เเละปักปิ่นทองคำ หรือ “ปิ่นคำ” ในภาษาล้านนา มัดมวยด้วยสร้อยคำ หรือ สร้อยทอง เจาะหูใส่ “ลานหู” มีลักษณะเป็นแผ่นใบลาน แผ่นเงิน หรือทองคำ นำมาม้วนแล้วใส่เข้าไป และสวมสร้อยคอทองคำ 

ส่วนเหล่าเสนาอมาตย์บริเวณด้านหน้าปราสาทแต่งกายคล้ายชายชาวไทยวนและไทลื้อในล้านนาในยุคนั้น ซึ่งรับอิทธิพลการแต่งกายมาจากทางภาคกลาง (กรุงเทพ) คือ ใส่เสื้อแขนยาวคอกลมที่ทำจากผ้าพื้นเรียบและมีลวดลาย นุ่งโจงกระเบนที่ทำจากผ้าที่มีลวดลาย ไว้ผมทรงมหาดไทย ลักษณะคือ ไว้ผมกลางศีรษะและด้านข้างโกนผมบริเวณโดยรอบ คล้ายกับการนำกะลามาครอบหัว ซึ่งในภาพมีทั้งการไว้แบบทรงแสกกลางแบบทางภาคกลางของไทย และไม่แสกกลาง

PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
07/02/2558
RESOURCE TYPE:
จิตรกรรมฝาผนัง
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
จิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
ภาพจิตรกรรมที่เรียกได้ว่าเป็นของ สกุลช่างน่าน มีเอกลักษณ์เฉพาะตน ที่นำเอารูปแบบต่างๆทั้งศิลปะของไทลื้อ ศิลปะของทางรัตนโกสินทร์และศิลปะของพม่าแบบไทใหญ่ นำมาผสมผสานก่อให้เกิดรูปลักษณ์ที่เป็นของตนเองได้อย่างงดงาม มีการใช้สีจากธรรมชาติเป็นส่วนมากในการเขียน อาทิเช่น สีน้ำเงินจากคราม ที่เป็นสีหลักในการเขียนจิตรกรร แต่เป็นที่น่าเสียดายที่จิตรกรรมเสียหายค่อนข้างมาก เนื่องจากน้ำฝนรั่ว ความชื้นจากดินด้านล่าง
COVERAGE:
วัดภูมินทร์ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
น่าน
IMAGE CODE:
02_29_20150207_MR_วัดภูมินทร์_122
SUBJECT AGE:
พุทธศตวรรษที่ 25
CATEGORY:
จิตรกรรมฝาผนัง
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
วัดภูมินทร์ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย view map
ORIGINAL SIZE:
151×91 cm
DIGITAL SIZE:
76,603×25,593 Pixels

Loading