Description
Digital Data
ภาพเขียนจิตรกรรมบริเวณด้านบนเหนือหน้าต่าง ฝาผนังมุขสกัดฝั่งตะวันตก เขียนภาพเจ้าคัทธณะกุมารขณะออกเดินทางจากเมืองศรีษะเกษ มุ่งสู่เมืองอินทปัฎ์ฐนคร
ในภาพเจ้าคัทธณะกุมารทรงเเบกดาบศรีกัญไชยไว้ที่บ่าซ้าย เบื้องหน้าห้วยคนโฑทิพย์ไว้ ส่วนเบื้องหลังห้อยถุงย่ามไว้ ในบริเวณนี้มีอักษรล้านนาเขียนกำกับอยู่อ่านได้ความว่า “เจ้าคัทธณะไปตวยหาพ่อแล” แปลว่า “เจ้าคัทธณะกุมารได้เดินทางออกตามหาพระบิดา”
บริเวณด้านบนมีพรานป่ากำลังยิงกวางด้วยปืนคาบศิลา
ในภาพเจ้าคัทธณะกุมารทรงเครื่องแบบกษัตริย์ของไทย คล้ายกับการแต่งกายแบบในละครนาฏศิลป์ของทางภาคกลาง (กรุงเทพ) คือสวมเสื้อแขนยาว สวมพาหุรัดที่ต้นแขน นุ่งสนับเพลาคือกางเกงขายาวประมาณครึ่งแข้ง นุ่งโจงกระเบนทับที่เป็นผ้าที่มีลวดลาย รัดด้วยปั้นเหน่ง หรือเข็มขัด มีผ้าห้อยหน้าหรือชายไหวระหว่างชายแครง มีแถบผ้าปลายงอนหุ้มปลายขากางเกงทั้ง 2 ข้าง ปัจจุบันหมายถึงกางเกง ส่วนในราชาศัพท์ใช้ว่า “พระสนับเพลา” ในมือถือดาบศรีกัญไชย คอนไว้บนบ่าซ้าย เบื้องหน้าห้อยคนโฑทิพย์ ส่วนเบื้องหลังห้อยถุงย่ามที่นิยมใช้กันในหมู่ชาวไทยวนในล้านนาไว้ที่ปลายดาบ
ส่วนพรานป่าในภาพแต่งกายคล้ายชาวไทยวนและไทลื้อในล้านนาในยุคนั้น ซึ่งน่าจะรับเอาอิทธิพลการแต่งกายมาจากภาคกลาง (กรุงเทพ) คือ ใส่เสื้อแขนยาวคอกลมทำจากผ้าพื้นสีเรียบ นำผ้าแถบสีแดงมามัดศีรษะ นุ่งผ้าพื้นเรียบผืนเดียวที่เรียกว่า “นุ่งผ้าต้อย” หรือ “เค็ดม่าม” โดยจะม้วนผ้าเป็นเกลียวสอดระหว่างขา เป็นการนุ่งแบบเดียวกับการถกเขมร หรือ โจงกระเบน เผยให้เห็นลายสักยันต์ตั้งแต่ท้องน้อยจนถึงหัวเข่า อันเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชายชาวไทยวนและไทลื้อในแถบนี้ ไว้ผมทรงมหาดไทย ลักษณะคือ ไว้ผมกลางศีรษะและด้านข้างโกนผมบริเวณโดยรอบ คล้ายกับการนำกะลามาครอบหัว แต่ไม่ได้แสกกลางแบบทางภาคกลางของไทย ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลมาจากทางกรุงเทพ
Physical Data