Description
Digital Data
ภาพเขียนบริเวณเสาของพระวิหาร เขียนภาพเจ้าคัทธณะกุมารขณะเดินผ่านป่าแห่งหนึ่ง ป่าเเห่งนี้มีนกหลากหลายชนิดอาศัยกันอย่างชุกชุม ในบริเวณนี้มีอักษรล้านนาเขียนกำกับอยู่ อ่านได้ความว่า “เจ้าคัทธณะไปตวยหาพ่อแล” แปลว่า “เจ้าคัทธณะกุมารได้เดินทางออกตามหาพระบิดา”
ในภาพเจ้าคัทธณะกุมารทรงเครื่องแบบกษัตริย์ของไทย หรือ การแต่งกายแบบในละครนาฏศิลป์ของทางกรุงเทพ คือ สวมพระมาลา หรือ หมวกทรงกลมยอดแหลม สวมกรองศอและอินทรธนูทับบนเสื้อแขนยาว มีทับทรวงและสายสังวาลสะพายแล่ง สวมพาหุรัดที่ต้นแขน นุ่งสนับเพลา คือกางเกงขายาวประมาณครึ่งแข้ง นุ่งโจงกระเบนทับที่เป็นผ้าที่มีลวดลาย รัดด้วยปั้นเหน่ง หรือเข็มขัด มีผ้าห้อยหน้า หรือ ชายไหวระหว่างชายแครง มีแถบผ้าปลายงอนหุ้มปลายขากางเกงทั้ง 2 ข้าง ปัจจุบันหมายถึงกางเกง ส่วนในราชาศัพท์ใช้ว่า “พระสนับเพลา” ในมือถือดาบศรีกัญไชย คอนไว้บนบ่าซ้าย เบื้องหน้าห้อยคนโฑทิพย์ ส่วนเบื้องหลังห้อยถุงย่ามที่นิยมใช้กันในหมู่ชาวไทยวนในล้านนาไว้ที่ปลายดาบ
ส่วนภาพเขียนบริเวณด้านบน เป็นภาพเขียนนกขนาดใหญ่ 2 ชนิด ประกอบด้วย นกคู่เเรกบริเวณด้านบน คือ นกแก้ว หรือ “นกแล” ในภาษาล้านนา ถัดลงมาเป็นภาพนกนกเขา
Physical Data