จิตรกรรมฝาผนังมุขทิศเหนือ ส่วนกลาง 1.9

Category:

Description

Digital Data

TITLE:
น่าน
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
DESCRIPTION:

ภาพเขียนเจ้าคัทธณะกุมารเเละชายร้อยกอ ภายหลังจากพ่ายต่อเจ้าคัทธณะกุมาร จึงได้ขอติดตามรับใช้เจ้าคัทธณะกุมาร แล้วทั้งสองจึงได้ออกเดินทางมุ่งสู่เมืองอินทปัฎ์ฐนคร ในบริเวณนี้มีชุดอักษรล้านนาเขียนกำกับไว้ด้วยกันหลายชุด ประกอบด้วย ชุดอักษรล้านนาบริเวณด้านขวาหลังชายร้อยกอที่กำลังเดินตามเจ้าคัทธณะกุมารไปนั้น อ่านได้ความว่า “เจ้าคัทธณะได้ไม้ร้อยกอมาหนี้แล” แปลว่า “เจ้าคัทธณะกุมารได้ชายร้อยกอมาเป็นลูกน้อง” เเละอักษรล้านนาชุดสุดท้ายบริเวณด้านขวาหน้าเจ้าคัทธณะกุมาร อ่านได้ความว่า “กอยหมอนั้นดู” แปลว่า “คอยดูเจ้าคนนั้นะ(ชายร้อยเกวียน)” 

ในภาพเจ้าคัทธณะกุมารทรงเครื่องแบบกษัตริย์ของไทย หรือ การแต่งกายแบบในละครนาฏศิลป์ของทางกรุงเทพ คือ สวมพระมาลา หรือ หมวกทรงกลมยอดแหลม สวมกรองศอและอินทรธนูทับบนเสื้อแขนยาว มีทับทรวงและสายสังวาลสะพายแล่ง สวมพาหุรัดที่ต้นแขน นุ่งสนับเพลา คือกางเกงขายาวประมาณครึ่งแข้ง นุ่งโจงกระเบนทับที่เป็นผ้าที่มีลวดลาย รัดด้วยปั้นเหน่ง หรือเข็มขัด มีผ้าห้อยหน้า หรือ ชายไหวระหว่างชายแครง มีแถบผ้าปลายงอนหุ้มปลายขากางเกงทั้ง 2 ข้าง ปัจจุบันหมายถึงกางเกง ส่วนในราชาศัพท์ใช้ว่า “พระสนับเพลา” สวมพระบาทเชิงงอน และเหน็บดาบศรีกัญไชยไว้ที่เอว 

ส่วนชายร้อยกอแต่งกายคล้ายชาวไทยวนและไทลื้อในล้านนาในยุคนั้น ซึ่งได้รับอิทธิพลการแต่งกายมาจากทางกรุงเทพ คือ ใส่เสื้อแขนยาวคอกลมทำจากผ้าพื้นสีเรียบ มีการตกแต่งที่สาปเสื้อด้านหน้าและที่ต้นแขน สวมหมวกทรงกลมแบบของชาวตะวันตกซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากทางกรุงเทพเช่นกัน นุ่งผ้าผืนเดียวที่มีลวดลายเรียกว่านุ่งแบบ “นุ่งผ้าต้อย” หรือ “เค็ดม่าม” โดยจะม้วนผ้าเป็นเกลียวสอดระหว่างขาเป็นการนุ่งแบบเดียวกับการถกเขมร หรือ โจงกระเบน มัดเอวด้วยผ้าพื้นสีแดง เผยให้เห็นลายสักยันต์ตั้งแต่ท้องน้อยจนถึงหัวเข่า อันเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชายชาวไทยวนและไทลื้อในแถบนี้ ไว้ผมทรงมหาดไทย ลักษณะคือ ไว้ผมกลางศีรษะและด้านข้างโกนผมบริเวณโดยรอบ คล้ายกับการนำกะลามาครอบหัว แต่ไม่ได้แสกกลางแบบทางภาคกลางของไทย ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลมาจากทางกรุงเทพ ในมือถือไม้แบกไว้ที่บ่า ด้านหน้าเเละด้านหลังมีถุงย่ามห้อยไว้ เเละห้อยดาบไว้ด้านหลัง ดาบที่ชายร้อยกอห้อยอยู่บ้านฝักและด้ามดาบทำจากเงิน เรียกว่า “ดาบหลูบเงิน” ในภาษาล้านนา ส่วนถุงย่ามที่ห้อยด้านหน้าเป็นถุงย่ามสีขาว ซึ่งเป็นถุงย่ามที่นิยมกันทั่วไปในหมู่ชาวไทยวนในล้านนา ส่วนถุงย่ามสีแดง เป็นถุงย่ามที่นิยมกันในหมู่ชาวไทลื้อ ภาพเขียนนี้แสดงให้เห็นถึงการผสมผสานวัฒนธรรมของชาวไทยวนและชาวไทลื้อในเมืองน่านในยุคนั้นได้เป็นอย่างดี

PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
07/02/2558
RESOURCE TYPE:
จิตรกรรมฝาผนัง
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
จิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
COVERAGE:
วัดภูมินทร์ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
น่าน
IMAGE CODE:
000
SUBJECT AGE:
CATEGORY:
จิตรกรรมฝาผนัง
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
วัดภูมินทร์ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย view map
ORIGINAL SIZE:
11.43×6.82 เมตร(ขนาดรวมทั้งฝาผนัง)
DIGITAL SIZE:
57,451×19,360 Pixels