Description
Digital Data
ภาพจิตรกรรมบริเวณด้านในภาพฝั่งด้านซ้ายของเจ้าคัทธณะกุมาร บริเวณใต้ “ฮางฮดสรง” เหลือแต่ตัวอักษร “ค……” ซึ่งน่าจะหมายถึงคัทธจัน ผู้ที่ช่วยพระบิดาได้จากเมืองตักศิลา ที่น่าจะกำลังสรงน้ำบนรางรดสรงแต่ภาพจิตรกรรมเสียหายลบเลือนไปบางส่วน และท้ายรางรดสรงฝั่งด้านนี้ภาพจิตรกรรมเสียหายลบเลือนไปบางส่วนเช่นกัน แต่ยังสามารถเห็นได้ว่าน่าจะเป็นชาวเมืองจำปานคร ที่ประกอบด้วยหลากหลายชนชาติ ทั้งชายชาวจีนที่อยู่ด้านหน้า ที่สามารถเห็นจากทรงผมและการไว้หนวดแบบชาวจีนที่สามารถพบได้ทั่วไปในยุคนั้น และด้านหลังน่าจะเป็นชาวชายไทยวน ก็ได้มาสรงน้ำเจ้าคัทธณะกุมารที่ด้านท้ายรางรดสรงเช่นกัน
เครื่องทรงของเจ้าคัทธณะกุมารและคัทธจันเป็นรูปแบบเดียวกันคือ ทรงเครื่องแบบกษัตริย์ของไทยหรือ การแต่งกายแบบในละครนาฏศิลป์ของทางกรุงเทพคือ สวมพระมหามงกุฎหรือพระชฎา มีกรรเจียกคือเครื่องประดับหูมีรูปเป็นกระหนก สวมกรองศอและอินทรธนูทับบนเสื้อแขนยาว มีทับทรวงและสายสังวาลสะพายแล่ง สวมพาหุรัดที่ต้นแขน นุ่งสนับเพลาคือกางเกงขายาวประมาณครึ่งแข้ง นุ่งโจงกระเบนทับที่เป็นผ้าที่มีลวดลาย รัดด้วยปั้นเหน่งหรือเข็มขัด มีผ้าห้อยหน้าหรือชายไหวระหว่างชายแครง มีแถบผ้าปลายงอนหุ้มปลายขากางเกงทั้ง 2 ข้าง ปัจจุบันยังหมายถึงกางเกงด้วย ราชาศัพท์ใช้ว่า พระสนับเพลา
ส่วนชาวเมืองจำปานครที่อยู่ด้านท้ายรางรดสรง ที่ประกอบด้วยหลากหลายชนชาติ ทั้งชายชาวจีนที่อยู่ด้านหน้า ที่สามารถเห็นจากทรงผมและการไว้หนวดแบบชาวจีนที่สามารถพบได้ทั่วไปในยุคนั้น และด้านหลังน่าจะเป็นชาวชายไทยวน มีการแต่งกายคือใส่เสื้อแขนยาวคอกลมทำจากผ้าพื้นเรียบ ที่น่าจะได้รับอิทธิพลจากทางกรุงเทพ ไว้ทรงผมได้เรียกทรงผมนี้ว่า “ทรงมหาดไทย” ลักษณะคือ ไว้ผมกลางศีรษะและด้านข้างโกนผมบริเวณโดยรอบ คล้ายกับการนำกะลามาครอบหัว แต่ไม่ได้แสกกลางแบบทางภาคกลางของไทย
Physical Data