จิตรกรรมทิศใต้ฝั่งตะวันออก และฝาผนังฝั่งตะวันออกของมุขทิศใต้ 1.7

Category:

Description

Digital Data

TITLE:
น่าน
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
DESCRIPTION:

ภาพเขียนเหล่าพนักงานวงมโหรีที่กำลังบรรเลงเฉลิมฉลองการขึ้นครองเมืองของเจ้าคัทธนกุมาร ที่หน้าปราสาทเมืองจำปานคร ในบริเวณนี้มีชุดอักษรล้านนาเขียนกำกับอยู่ อ่านได้ความว่า “พวกปี่พาดขุนคอนทั้งมวล” แปลได้ว่า “คณะเหล่านักดนตรีที่เล่นปี่พาทย์และเหล่านักละครทั้งหลาย” 

ในภาพจะเห็นว่ามีเครื่องดนตรีที่ผสมผสานระหว่างเครื่องดนตรีไทยภาคกลาง และเครื่องดนตรีของทางล้านนาและเมืองน่าน ประกอบเป็นวงดนตรีมโหรี เช่น พนักงานสีซอด้วง เจ้าพนักงานดีดพิณ หรือ ปิน ซึ่งเป็นพิณ ที่นิยมใช้กันทั่วไปในชาวไทยวนและไทลื้อในเมืองน่าน ซึ่งมีรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ สามารถพบได้เฉพาะในเมืองน่านเท่านั้น ส่วนชายด้านหลังเป่าขลุ่ย คนขวาเป่าปี่แน คือเครื่องดนตรีพื้นบ้านของล้านนา ถัดไปเป็นคนล่างซ้ายตีกลองทัด และคนล่างขวาตีกลองสองหน้า กลางภาพเป็นคนตีฆ้องวง ถัดไปทางขวาเป็นคนตีฉิ่ง ถัดลงมาตีระนาด เป็นต้น

นักดนตรีในภาพแต่งกายแบบชาวไทยวนและไทลื้อในล้านนาในยุคนั้น ซึ่งได้รับอิทธิพลการแต่งกายรูปแบบจากทางภาคกลาง (กรุงเทพ) คือ ใส่เสื้อแขนยาวคอกลมทำจากผ้าที่เป็นผ้าพื้นเรียบ นุ่งผ้าที่มีลวดลายผืนเดียวที่เรียกว่านุ่งแบบ “นุ่งผ้าต้อย” หรือ “เค็ดม่าม” โดยจะม้วนผ้าเป็นเกลียวสอดระหว่างขาเป็นการนุ่งแบบเดียวกับการถกเขมร หรือ โจงกระเบน มัดเอวด้วยผ้าพื้นสีแดง เผยให้เห็นลายสักยันต์ตั้งแต่ท้องน้อยจนถึงหัวเข่า อันเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชายชาวไทยวนและไทลื้อในแถบนี้ นอกจากนี้นักดนตรีบางคนยังแต่งกายดูคล้ายกับการเเต่งกายนิยมกันในหมู่ชายชาวกรุงเทพในยุคนั้น คือใส่เสื้อคอตั้งแขนยาว ทำจากผ้าพื้นที่มีลวดลายและผ้าพื้นสีเรียบ มีผ้าคาดเอว นุ่งโจงกระเบนที่เป็นผ้าพื้นที่มีลวดลายและผ้าพื้นสีเรียบ ซึ่งน่าจะเป็นผ้าที่มาจากต่างประเทศ ไว้ผมทรงมหาดไทย ลักษณะคือ ไว้ผมกลางศีรษะและด้านข้างโกนผมบริเวณโดยรอบ คล้ายกับการนำกะลามาครอบหัว แต่ไม่ได้แสกกลางแบบทางภาคกลางของไทย ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลมาจากทางกรุงเทพ

PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
07/02/2558
RESOURCE TYPE:
จิตรกรรมฝาผนัง
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
จิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
COVERAGE:
วัดภูมินทร์ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
น่าน
IMAGE CODE:
000
SUBJECT AGE:
CATEGORY:
จิตรกรรมฝาผนัง
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
วัดภูมินทร์ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย view map
ORIGINAL SIZE:
11.43×6.82 เมตร(ขนาดรวมทั้งฝาผนัง)
DIGITAL SIZE:
62,342×20,703 Pixels