ปั๊บสา วัดหนองบัว (เต็มผ่าน หน้า/หลัง)

ปั๊บสาคือสมุดไว้จดบันทึกของชาวล้านนา ทำจากกระดาษสาแบบหนานำมาพับเรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆสามารถเขียนได้ทั้งด้านหน้าและด้านหลังเมื่อจะอ่านสามารถเปิดอ่านได้ทีละหน้าแต่เมื่อกางออกจะกลายเป็นแผ่นยาว ปั๊บสาของวัดหนองบัว อ.ท่าวังผา จ.น่าน
เชื่อกันว่าเป็นของ”หนานบัวผัน”หรือ”ทิดบัวผัน”ที่รองศาสตราจารย์สน สีมาตรัง ได้รวบรวมจากการสัมภาษณ์พระครูมานิตบุญยการเพื่อเป็นข้อมูลในงานวิจัยสาขาประวัติศาสตร์ไทย มหาวิทยาลัยศิลปากร ในปี พ.ศ. 2522- 2525 พระครูมานิตบุญยการมีถิ่นกาเนิดที่หมู่บ้านหนองบัวและเป็นเจ้าอาวาสวัดหนองบัวในขณะน้ันจากน้ันจึงได้นำข้อมูลมาพิมพ์ “หนังสือโครงสร้างจิตรกรรมฝาผนังล้านนา” ที่จัดพิมพ์ในปี พ.ศ.2526 จาก หนังสือเล่มนี้ที่มีการกล่าวถึงชื่อของ “ทิดบัวผัน” เป็นผู้รังสรรค์ผลงานจิตรกรรมอันสวยงามตามแบบฉบับของเมืองน่านเป็นคร้ังแรกดังที่ได้ปรากฏชื่อ”หนานบัวผัน”ในหนังสือ Reading Thai Murals ของ David K. Wyatt กล่าวว่า “ทิดบัวผัน (Thit Buaphan) เป็นศิลปินชาวลาวพวนจากเมืองเชียงขวาง ดินแดนทุ่งไหหิน ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของลาวตอนกลางไม่ทราบสาเหตุชัดเจนว่าได้เดินทางเข้ามาเมืองน่านอย่างไร เพียงสันนิษฐานว่าน่าจะไดร้บคำชักชวนกับชาวเมืองน่านที่รู้จักคบค้ากับชาวเมืองหลวงพระบาง”

ปั๊บสาวัดหนองบัวเป็นปั๊บสาขนาดใหญ่ที่ทางล้านนาเรียกว่า “ปั๊บสาลั่น” มีลักษณะเป็นกระดาษสาขนาดใหญ่ภายในมีภาพร่างลายเส้นสีดำเป็นส่วนมากทั้งด้านหน้าและด้านหลังมีบางภาพที่นำสีแดงมาลงเพิ่มเติมลงไปบ้าง ภาพวาดลายเส้นดูเหมือนการร่างภาพเพื่อเป็นการวาดเพื่อการจดจำหรือเหมือนกับบันทึกช่วยจำ อีกทั้งยังน่าจะเป็นหลักฐานที่นำไปแสดงต่อผู้ว่าจ้างเพื่อให้เห็นถึงความสามารถรวมถึงผลงานที่จะปรากฎในจิตรกรรมฝาผนังว่าจะมีรูปแบบเช่นไร ปั๊บสาวัดหนองบัวมีทั้งหมด 24 หน้ารวมด้านปกหน้าและปกหลังแล้วภาพวาดด้านหน้าและด้านหลังมีทั้งหมด 22 หน้ามีการวาดภาพส่วนมากเป็นหน้าคู่หรือ 2 หน้าแต่มีบางภาพที่วาดเป็นสองคู่หรือ 4 หน้าภาพลายเส้นที่ปรากฎถือได้ว่าเป็นภาพลายเส้นที่สวยงามและทรงคุณค่าเป็นอย่างสูงเนื่องจากไม่ปรากฎหลักฐานของการวาดลายเส้นทั้งเล่มเช่นนี้ที่ใดมาก่อน ถือได้ว่าเป็นสมบัติชิ้นเอกชิ้นหนึ่งของเมืองน่านที่สมควรแก่การอนุรักษ์และศึกษาต่อยอดสู่การสร้างสรรค์งานอื่นได้เป็นอย่างดี

ด้านหน้า

ด้านหลัง