นิทรรศการภาพถ่าย Chiang Mai Blooms city gallery 2023

งานเทศกาล “เชียงใหม่ เบิกบาน” CHIANG MAI BLOOMS 2023 Chiang Mai Blooms Magic moment จัดขึ้นระหว่างวันที่ 3 กุมภาพันธุ์ – 28 เมษายน 2566 เปิดให้เข้าชมตั้งเเต่เวลา 08.30 – 16.30 น. (จันทร์ – ศุกร์) ณ อาคารหอภาพถ่ายล้านนา ถนนพระปกเกล้า อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ นิทรรศการภาพถ่ายในครั้งนี้นำผลงานภาพถ่ายสร้างสรรค์ของศิลปิน 5 ท่าน 5 สไตล์ ทั้งชาวไทยเเละต่างประเทศ มาให้ท่านได้ชม อาทิ Red Lotus โดยคุณ กมลลักษณ์ สุขชัย La Magnolia Series โดยคุณกำธร อุ่นทรัพย์ Life bloom like a flower […]

นิทรรศการภาพถ่ายโบราณคดี “ปราสาทเขมร”

นิทรรศการภาพถ่ายโบราณคดี “ปราสาทเขมร” DES HOMMES ET DES TEMPLES เป็นนิทรรศการภาพถ่าย ในช่วงเวลาที่สำคัญของการบูรณะซ่อมแซมมรดกทางวัฒนธรรมเขมรในประเทศไทยและกัมพูชาในยุคแรก เช่น พระนคร (อังกอร์) พิมาย พนมรุ้ง และพนมวัน รวมทั้งภาพถ่ายการทำงานร่วมกับหน่วยงานอนุรักษ์ปราสาทนครวัดที่ประเทศกัมพูชา ถือเป็นมรดกอันทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ที่หาดูได้ยากยิ่ง ภาพถ่ายชุดนี้ได้รับความอนุเคราะห์ จากสำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบูรพทิศ เชียงใหม่ (Ecole française d’Extrême-Orient (EFEO)) ให้นำมาจัดแสดงสำหรับผู้สนใจในด้านประวัติศาสตร์ของงานศิลปกรรมเขมรในประเทศไทยและประเทศกัมพูชา

นิทรรศการภาพถ่าย : บุคคลชนชั้นแรงงาน : เชียงใหม่ ประเทศไทย

นิทรรศการภาพบุคคลชนชั้นแรงงาน: เชียงใหม่ ประเทศไทย เป็นชุดผลงานที่บันทึกเรื่องราวของผู้คนในกลุ่มกรรมาชีพเอาไว้ด้วยภาพถ่ายขาวดำจำนวน 55 ภาพ โดยใช้การถ่ายภาพแทนการศึกษากลุ่มผู้ใช้แรงงานในประเทศไทย ซึ่งถูกพบเห็นได้ทั่วไป แต่ไม่บ่อยนักที่จะถูกนำมาพูดถึงอย่างมีนัยยะสำคัญ ผลงานทั้งหมดถูกบันทึกจากบริเวณโดยรอบจังหวัดเชียงใหม่ ยกตัวอย่างเช่น อำเภอสันทราย สารภี สันป่าตอง หางดง แม่ริม และแม่แตง เป็นภาพของกลุ่มผู้ใช้แรงงานหลากหลายของอาชีพที่พบได้ในท้องถิ่น ตั้งแต่ช่างก่อสร้าง ชาวนา และกรรมกร ด้วยการเก็บภาพจากสถานที่ทำงานจริงของคนผู้นั้น ซึ่งภาพผลงานชุดนี้เป็นเหมือนดังการบันทึกและการกระตุ้นเตือนให้ผู้คนได้เห็นถึงความสำคัญของแรงงานผู้อุทิศตน โดยผลงานทั้งหมดในชุดนี้ ยังเป็นงานศิลปนิพนธ์ระดับปริญญาโทของนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประกอบกับงานเขียนที่บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับชนชั้นแรงงานของประเทศไทยอีกด้วย โดยภาพถ่ายผลงานทั้งหมดจะถูกจัดแสดงขึ้นที่หอภาพถ่ายล้านนา จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่วันที่ 8 ไปจนถึงวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2564 กำหนดให้มีพิธีเปิดนิทรรศการในวันที่ 8 มกราคม ในเวลา 18.00 น. เป็นต้นไป

วิถีราชดำเนิน

วิถีราชดำเนิน เป็นการพัฒนาต่อยอดกระบวนการขับเคลื่อนทางสังคม โดยเริ่มจาก โครงการจันทร์ หอม ฮอม แฮง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความร่วมมือในการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน เป็นการทำงานระหว่าง ภาคีเครือข่ายเขียว สวย หอม กลุ่มชุมชนชาวบ้าน หน่วยงานเทศบาลภาคประชาสังคม กลุ่มธุรกิจโรงแรม ร้านค้า ที่มารวมตัวกันเพื่อสร้างต้นแบบในการพัฒนาเมืองที่ยั่งยืน ในด้านเศรษกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ประชุมวางแผน ปัญหาขยะ : ท่อตัน : ทางเท้าชำรุด ประชุมในกลุ่มไลน์ สำรวจพื้นที่ นักศึกษานำเสนอผลงาน  

Spirit of Floral

นิทรรศการภาพถ่ายครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานเทศกาล “เชียงใหม่ เบิกบาน” CHIANG MAI BLOOMS 2020 โดยความร่วมมือของหอภาพถ่ายล้านนา และผู้จัดเทศกาลดอกไม้ CHIANG BLOOMS ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดสุนทรียะและการสร้างสรรค์ทางด้านศิลปะ และยังเป็นการเชิญชวนให้ผู้คนเกิดความสนใจในธรรมชาติ โดยเฉพาะไม้ดอกไม้ประดับที่ปลูกในจังหวัดเชียงใหม่ ตลอดจนเป็นการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้ชื่อนิทรรศการครั้งนี้ว่า “Spirit of Floral” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 6 กุมภาพันธุ์ – 6 เมษยาน 2563 โดยนำผลงานภาพถ่ายสร้างสรรค์ของศิลปิน 3 ท่าน ประกอบด้วย ช่างภาพ : คุณสุรชัย แสงสุวรรณ (ปุย) ช่างภาพแฟชั่น ชุด DOK “Drag-Queens Blossom” ช่างภาพ : คุณนรภัทร ศักดิ์อาธรทรัพย์ (บอล) ช่างภาพผู้สนใจในการถ่ายภาพดอกไม้ในบริบทต่างๆ รอบตัว ชื่อชุด Six Memories in the Winter Garden (2013)  […]

Chiang Mai REFORM

เมืองเชียงใหม่ตั้งอยู่บนพื้นที่ลุ่มแม่น้ำปิงตอนบนเป็นระยะเวลากว่า 7 ศตวรรษ เป็นทั้งศูนย์กลางทางการเมืองการปกครองและการค้า ขายในภูมิภาค เชียงใหม่จึงเป็นเมืองที่เป็นศูนย์รวมผู้คนจากหลาก หลายภูมิลำเนา ความเป็นศูนย์รวมของผู้คนจากพื้นที่ๆ แตกต่างกัน นั้นยังส่งผลให้เชียงใหม่เป็นเมืองที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ความเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคทำให้เชียงใหม่เป็นเมืองที่มีการพัฒนาต่อเนื่องอยู่เสมอ นับตั้งแต่การก่อตั้งเมืองเป็นศูนย์กลางการ ปกครองของอาณาจักรนครรัฐอิสระแห่งล้านนา การอยู่ภายใต้ อิทธิพลอาณาจักรราชวงศ์ตองอู การผนวกรวมเข้ากับรัฐสยาม และการพัฒนาสู่ความเป็นเมืองสมัยใหม่ที่มั่งคั่งทางเศรษฐกิจแต่ยังคงรากเหง้าทางวัฒนธรรม เมืองเชียงใหม่ได้เผชิญหน้ากับความท้าทาย ต่างๆ มากมายตลอดระยะเวลากว่าเจ็ดร้อยปีและยังคงอยู่ได้จนถึง ปัจจุบัน ส่วนที่ขาดไม่ได้สำหรับการเผชิญหน้ากับความท้าทายตลอด ช่วงเวลาความเปลี่ยนแปลงต่างๆ คือผู้คนในเมืองเชียงใหม่ ทั้ง แรงงาน ช่างฝีมือ นักคิด และนักปกครอง ผู้คอยมีความคิดริเริ่มและ นำมาปฏิบัติเพื่อปฏิรูปชุมชนเมืองแห่งนี้ให้สอดคล้องกับความเป็นไปในด้านต่างๆ ที่ต้องเผชิญ นิทรรศการภาพถ่าย Chiang Mai REFORM เป็นการนำเสนอ ผลงานภาพถ่ายโดยช่างภาพในท้องถิ่น คณาจารย์ และนักศึกษา ที่ สะท้อนให้เห็นเรื่องราวของเมืองเชียงใหม่ทั้งในด้านประวัติศาสตร์ ชีวิตผู้คน สถานที่ และประเด็นความเป็นไปในปัจจุบันของเมือง เชียงใหม่ซึ่งเป็นเมืองที่มีพัฒนาการและการปฏิรูปอย่างไม่เคยหยุดนิ่ง 720 ปีเมืองเชียงใหม่ ENVI PORTRAIT นายศักรินทร์ สุทธิสาร Chiang Mai

EXODUS-DEJAVU

Rahman Roslan  “ไม่ว่าเส้นทางนั้นจะกว้างหรือแคบ แต่ผมต้องการทำประโยชน์ให้กับมนุษยชาติ นี่คือเหตุผลว่าทำไม ผมจึงสนใจภาพถ่ายเชิงสารคดี ผมอยากรู้เห็นประวัติศาสตร์ เวลาที่ผู้คนเล่าเรื่องราวชีวิตให้คุณฟังนั่นจะทำให้คุณกลายเป็นคนที่ดีขึ้น” ราหมันอาศัยในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ชื่นชอบการถ่ายภาพเกี่ยวกับสังคมและผู้คน ผลงานของเขาบ่งบอกรูปแบบการคิดและความรู้สึก เขาเป็นหนึ่งในช่างภาพชาวเอเชียรุ่นใหม่ไฟแรงที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้ารับการอบรมที่จัดขึ้นในเทศกาลภาพถ่ายอังกอร์ ผลงานของเขาหลายชิ้นได้รับการตีพิมพ์โดยสำนักข่าว รอยเตอร์ เอเอฟพี สำนักแพร่ภาพข่าวแห่งยุโรป นิตยสารไทม์ นิวยอร์คไทม์ อินเตอร์เนชันแนลเฮราลด์ทริบูน สเตรทไทม์สิงคโปร์ และอื่นๆ ปัจจุบันเขากำลังศึกษาค้นคว้าประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างอิสลามกับผลกระทบที่มีต่อวัฒนธรรมในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ Issa Touma อิซซา ทูมา เป็นผู้เชี่ยวชาญศิลปะของซีเรีย เขาเริ่มเรียนรู้การเป็นช่างภาพมืออาชีพด้วยตนเองในช่วงต้นปี 1990  แต่เมื่อค้นพบว่าตนเองปลีกแยกออกจากแวดวงศิลปะและการถ่ายภาพนานาชาติเขาจึงเริ่มก่อตั้งห้องแสดงผลงานภาพถ่ายชื่อแบล็คแอนด์ไวท์ในเมืองอเลปโปในปี 2535 และต่อมาแบล็คแอนด์ไวท์ได้ปิดตัวลงในปี 2539  เขาได้ก่อตั้งองค์กรและหอศิลป์ชื่อเลอ ปงต์ ซึ่งเป็นองค์กรอิสระด้านศิลปะที่เน้นรณรงค์เสรีภาพในการแสดงออกและส่งเสริมศิลปะท้องถิ่นด้วยการจัดกิจกรรมระดับนานาชาติ Sergey Ponomarev เซอเก โพโนมาเรียฟ เกิดในกรุงมอสโคว์ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมอสโก และมหาวิทยาลัยแรงงานและสังคมสัมพันธ์ เขาเป็นหนึ่งในช่างภาพชาวรัสเซียรุ่นใหม่ฝีมือชั้นแนวหน้าในปัจจุบัน มีผลงานเป็นที่รู้จักจากการถ่ายภาพข่าวที่สะท้อนวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชาวรัสเซีย ภาพเหตุการณ์สงครามและความขัดแย้งในตะวันออกกลาง รวมทั้งซีเรีย กาซา เลบานอน อียิปต์ และลิเบีย ในปี 2546-2555 เขาเป็นช่างภาพประจำสำนักข่าวแอสโซซิเอทซึ่งเป็นเครือข่ายข่าวระดับโลก ปัจจุบันเขาเป็นช่างภาพอิสระ […]

รอยแห่งวัฒนธรรม

“หากไม่เปิดเปลือยจะไม่รู้ว่ามีความงามใดซ่อนอยู่.. หากไม่สังเกต อาจหลงเข้าใจว่าบุรุษนุ่งเตี่ยวยืนกลางลำธารใสเย็น ..” ตามตำนานที่เล่าขานมาสู่ยุคปัจจุบันและภาพที่ปรากฏบนจิตรกรรมฝาผนังอายุนับร้อยปีในหลายภูมิภาค ในอดีตนับร้อยหรืออาจย้อนไปนับพันปี แผ่นดินไทยทางภาคกลางตอนบน ภาคเหนือ และภาคอีสาน เคยปรากฏรูปแบบศิลปะแห่งการ “สัก” บนเรือนกายท่อนล่าง นับจากเอวสู่ต้นขา อาจยาวไปถึงโคนเข่า หรือปลายเท้า มีลักษณะคล้ายคลึงกันในบุรุษชาติพันธุ์เดียวกัน แต่มีเอกลักษณ์เฉพาะของลวดลายที่แตกต่างจากลายสักของชนชาติพันธุ์อื่น ความงดงามที่ดูเข้มขลังนี้ถูกเรียกขานจากผู้ที่พบเห็นด้วยชื่อที่บ่งบอกถึงลักษณะที่ปรากฏว่า “สักขาลาย” “สักหมึก” “สักเตี่ยวก้อม” “สักกางเกง” ฯลฯ ในอดีต “บุรุษ” ของกลุ่มชาติพันธุ์ในดินแดนล้านนา อาทิ คนเมือง (ไตยวน) ไทใหญ่ (ไต) ลัวะ (ละว้า) กะเหรี่ยง (ปกาเกอะญอ หรือ ยาง) ไทลื้อ (ไตลื้อ) ขมุ (ลาวเทิง) ฯลฯ เมื่อย่างเข้าสู่วัยฉกรรจ์มีจำนวนมากที่อยากเป็นส่วนหนึ่งในการสืบทอดลวดลายโบราณที่มีแบบแผนอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะในแต่ละชาติพันธุ์ เป็นความงามที่สืบต่อมาจากรุ่นสู่รุ่น อาจหลายร้อยปีหรือนับพันปี ถือเป็นตัวแทนศิลปะบนเรือนกาย เป็นความงามที่ต้องอดทนต่อความเจ็บปวดที่อาจต้องแลกด้วยชีวิต จึงมีคำบอกเล่าว่า “คนในยุคนั้นหากไม่ใช้ฝิ่นจะไม่สามารถทนต่อความเจ็บปวดได้” และไม่ใช่เรื่องแปลกที่ในทุกสิบคนจะมีคนเสียชีวิตสองถึงสามคนเสมอ แต่คนส่วนใหญ่ถือว่าคุ้มค่า เป็นความภาคภูมิใจที่จะปรากฏอยู่บนเรือนร่างและคงอยู่ตราบลมหายใจสุดท้ายของชีวิต โดยมีคำกล่าวหยอกล้อในหมู่ผู้เฒ่าที่ปรากฏในทุกพื้นที่ของการเดินทางบันทึกภาพว่า “กบเคียดขามันยังลาย ถ้าป้อจายขาบะลายบะเอามาแป๋งผัว” […]

นิทรรศการผลงานภาพถ่ายของชาวญี่ปุ่นที่พักอาศัยในจังหวัดเชียงใหม่

CLL (Chiangmai Longstay Life Club) คือชื่อของชมรมขนาดเล็ก ที่รวบรวมผู้ที่มีใจรักในการถ่ายภาพชาวญี่ปุ่นที่พักอาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีสมาชิกทั้งที่เป็นชาวญี่ปุ่นและชาวไทยรวม 12 ท่าน ทุกๆเดือนทางชมรมจะนัดพบปะกันเพื่อศึกษา พัฒนา เทคนิคทางการถ่ายภาพและแชร์ประสบการณ์ร่วมกัน ในแต่ละปีจะออกทริปเดินทางถ่ายภาพทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อเก็บเกี่ยวประสบการณ์และมุมมองใหม่ๆในการถ่ายภาพ ซึ่งในนิทรรศการครั้งนี้ทางชมรมได้รวบรวมผลงานภาพที่ถ่ายจากประเทศไทย, เนปาล, เวียดนาม,ยูเครน, เยอรมัน, โปแลนด์, เมียนมาร์ และญี่ปุ่น มาจัดแสดง โดยมีภาพชุดพิเศษจากสมาชิก คือ คุณโอโมดากะ ได้จัดแสดงภาพถ่ายในชื่อชุด “เด็กในเอเซีย” และคุณทากาฮาหงิ จัดแสดงภาพถ่ายในชื่อชุด “จิตรกรรมบนรั้ว เชียงใหม่” ระยะเวลาจัดแสดง 28 ธันวาคม 2561 – 31 มกราคม 2562 รายนามศิลปิน : Seta Kiyosi ,Sukwattanaphan Ruchira ,Sahara Kazuko ,Takahagi Masaaki ,Simokawa Meko ,Yamamoto Keiko ,Omodaka Masao ,Sahara […]

Luz THESIS EXHIBITION in Chiang Mai 2018

หอภาพถ่ายล้านนา ภาควิชาสื่อศิลปะ และการออกแบบสื่อ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการส่งเสริมการศึกษา จึงได้จัดโครงการนิทรรศการผลงานนักศึกษา “Luz THESIS EXHIBITION in Chiang Mai 2018”  เพื่อให้นักศึกษาได้เผยแพร่ผลงานสู่สาธารณะ รวมถึงนักศึกษาได้เรียนรู้การจัดนิทรรศการ ณ สถานที่จริง ทั้งนี้ยังได้เรียนรู้ข้อจำกัดการขนย้าย การติดตั้ง ซึ่งต้องมีการวางแผนแบบอย่างเป็นระบบและมีการเตรียมงานล่วงหน้า และการทำงานเป็นทีม นิทรรศการผลงานนักศึกษา (Thesis) สาขาวิชาศิลปะการถ่ายภาพ ภาควิชาสื่อศิลปะ และการออกแบบสื่อ คณะวิจิตรศิลป์ รวบรวมผลงานนักศึกษา กว่า 120 ผลงาน จัดขึ้น ณ ห้องจัดนิทรรศการชั้น 2 หอภาพถ่ายล้านนา ถนนพระปกเกล้า ตำบลศรีภูมิ  อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ช่วงระหว่างวันที่ 18 พฤษภาคม – 19 สิงหาคม 2561 https://www.youtube.com/watch?v=nMl3v-54l3A&feature=youtu.be กรกนก เหล่าชัย พรพิมล โรจน์สิริอนันต์ พิมพ์ธาดา ปฐมโภคินเสถียร […]

นิทรรศการผลงานนักศึกษา “Chiang Mai Portrait”

นิทรรศการผลงานนักศึกษา “Chiang Mai Portrait” ประโยชน์ของการถ่ายภาพนั้นสามารถนำไปใช้เพื่อการถ่ายภาพได้หลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเพื่อบันทึกความทรงจำหรือนำไปสร้างสรรค์ผลงานเพื่อสร้างเป็นงานศิลปะ ซึ่งภาพถ่ายที่นำไปสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะนั้นก็มีอยู่ด้วยกันมากมาย เนื่องจากภาพถ่ายนั้นสะดวกง่ายต่อการใช้งานยิ่งในปัจจุบันมีการสร้างกล้องที่สะดวกต่อการใช้งาน ยิ่งเป็นการง่ายมากกว่าใช้อุปกรณ์อื่นๆ ยิ่งทำให้ผลงานศิลปะการถ่ายภาพมีจำนวนมากกว่าผลงานทางศิลปะแบบอื่นๆ ซึ่งการสร้างผลงานศิลปะผ่านการถ่ายภาพนั้นมีอยู่ด้วยกันมากมายหลายรูปแบบ เช่น ศิลปะการถ่ายภาพคนหรือที่เรียกว่า portrait หรือศิลปะการถ่ายภาพสถาปัตยกรรม หรือศิลปะการถ่ายภาพแนววิจิตร (Fine art) หรือการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะการถ่ายภาพเวลากลางคืน และอื่นๆอีกมากมายหลากหลายรูปแบบ แต่สิ่งสำคัญและมีการนำไปใช้มากที่สุดในการถ่ายภาพศิลปะคือ ศิลปะการถ่ายภาพบุคคล (Portrait) เพราะศิลปะการถ่ายภาพบุคคลสามารถแตกแขนงไปยัง ศิลปะการถ่ายภาพอื่นๆอีกมากมาย เช่น ศิลปะการถ่ายภาพแฟชั่น ศิลปะการถ่ายภาพงานแต่งงาน ศิลปะการถ่ายภาพบุคคล ในสตูดิโอ เป็นต้น และอีกหนึ่งนั้นคือการถ่ายภาพบุคคลในสภาพแวดล้อม หรือจะเรียกว่า Environmental portrait นั้นเอง การถ่ายภาพบุคคลในสภาพแวดล้อมคือการถ่ายภาพบุคคลที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เขาเป็นอยู่จริงๆเพื่อแสดงให้เห็นถึงที่ที่บุคคลนั้นๆ เป็น อยู่ และมีสภาพเป็นอย่างไร ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ชมได้รับทราบหรือเข้าใจได้ว่า บุคคลที่ปรากฏบนภาพถ่ายนั้นๆ เป็นการถ่ายทอดจินตนาการและความรู้สึกจากช่างถ่ายภาพผ่านตัวแบบไปสู่ผู้ชม ที่ต้องการให้เห็นว่าการที่เราถ่ายภาพคนๆนั้นในสภาพแวดล้อมที่เขากำลังเป็นอยู่ เพื่อให้ผู้ชมได้รับทราบ รู้สึกและเข้าใจ ทั้งนี้สิ่งที่สำคัญสูงสุดในภาพถ่าย Environmental Portrait นั้นก็คือตัวแบบและสภาพแวดล้อม ทางหอภาพถ่ายล้านนา ภาควิชาสื่อศิลปะ และการออกแบบสื่อคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการส่งเสริมการศึกษา จึงได้จัดโครงการนิทรรศการผลงานนักศึกษา […]