นิทรรศการภาพถ่าย เมืองไทย “บ้านแห่งดวงดาว”

นิทรรศการภาพถ่าย เมืองไทย “บ้านแห่งดวงดาว” เล่าเรื่องราวผ่านภาพถ่ายดวงดาวและวัตถุท้องฟ้าชนิดต่างๆผ่านมุมมองของนักถ่ายภาพสมาชิกชมรมคนรักในดวงดาว ประกอบด้วยภาพถ่ายจากสถานที่ต่างๆทั่วประเทศไทยตั้งแต่หอดูดาวส่วนบุคคล, เขตชานเมือง, ชุมชนอนุรักษ์ฟ้ามืด, และอุทยานแห่งชาติ โดยมุ่งสื่อสารความงดงามของภาพถ่ายในแง่ของความสุนทรียภาพที่มาพร้อมกับเรื่องราวน่าสนใจของวัตถุท้องฟ้าเหล่านั้นใแง่มุมวิทยาศาสตร์ ความสุนทรีย์นั้นให้การจรรโลงใจ ในขณะที่ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์นำมาซึ่งความรู้ความเข้าใจ นอกจากนี้ภาพถ่ายยังขับเคลื่อนเศรษฐกิจผ่านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ดาราศาสตร์ให้เกิดทั้งรายได้และความตระหนักรู้ในความสำคัญของสิ่งแวดล้อม นิทรรศการประกอบด้วยภาพถ่าย,คำบรรยายวัตถุและวิธีการถ่ายภาพของวัตถุท้องฟ้าในหัวข้อวัตถุในห้วงลึกอวกาศ, สมาชิกในระบบสุริยะ, ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์, ภาพถ่ายวัตถุท้องฟ้ากับแลนด์สเคปและเขตอนุรักษ์ฟ้ามืดสากล การดูดาวและบันทึกภาพดวงดาวไม่เพียงแต่ทำให้เราถ่อมใจลงและทำให้เข้าใจตนเองมากขึ้นแต่อาจได้มาซึ่งคำตอบของคำถามถึงจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของสรรพสิ่งก็เป็นได้

นิทรรศการผลงานศิลปนิพนธ์นักศึกษา “Thesis Exhibition DEV 2019”

ภายใต้ผลงานภาพถ่ายที่สวยงาม เราไม่สามารถสร้างสรรค์มันขึ้นเพียงเวลาไม่กี่อึดใจได้ บางผลงานใช้เวลาเป็นปี ห้าปี สิบปี หรืออาจกินเวลาไปทั้งชีวิต ไม่เพียงแค่ความสวยงามที่เกิดขึ้นจากผลงานเท่านั้น เรายังคงชื่นชมในความงามของกระบวนการพัฒนา (Development) และเวลาทั้งหลายที่เสียไปให้กับการสร้างสรรค์ผลงานชิ้นนี้ เพราะสิ่งที่เราได้เรียนรู้ ต่างเกิดขึ้นในระหว่างการทำงานเช่นกัน นิทรรศการภาพถ่ายศิลปนิพนธ์ Dev จึงเป็นเหมือนกระบวนการสุดท้าย ในการสร้างสรรค์ผลงาน นั่นก็คือการเผยแพร่ผลงานออกสู่สาธารณชน หากไร้ซึ่งนิทรรศการในครั้งนี้ สำหรับกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานภาพถ่ายแล้วก็จะถือว่าไม่เสร็จสมบูรณ์ ผลงานภาพถ่ายที่ถูกจัดแสดงจึงแฝงไปด้วยการเคี่ยวเข็ญและการรังสรรค์มันออกมาเป็นระยะเวลากว่า 1 ปี และไม่ว่าผลงานสุดท้ายจะออกมาเป็นแบบไหน แต่เชื่อว่าผู้ร่วมจัดแสดงทุกคน ต่างก็จะได้รับบทเรียนและทักษะในการสร้างสรรค์ผลงาน สำหรับการเตรียมตัวที่จะก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมและโลกแห่งความเป็นจริงต่อไป สถานที่จัแสดง หอภาพถ่ายล้านนา ถนนพระปกเกล้า ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ระยะเวลาจัดแสดง 17 พฤษภาคม – 28 กรกฎาคม 2562 เวลา 08.30 – 16.30 น. (ยกเว้นวันจันทร์) ธนกร แสงคำ กาญจนาพร บุญตามช่วย ณัฐภณ ไชยกอ จิรวัฒน์ ตันประเสริฐ ชัชวาล พลลา […]

นิทรรศการผลงานนักศึกษา “Chiang Mai Portrait”

นิทรรศการผลงานนักศึกษา “Chiang Mai Portrait” ประโยชน์ของการถ่ายภาพนั้นสามารถนำไปใช้เพื่อการถ่ายภาพได้หลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเพื่อบันทึกความทรงจำหรือนำไปสร้างสรรค์ผลงานเพื่อสร้างเป็นงานศิลปะ ซึ่งภาพถ่ายที่นำไปสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะนั้นก็มีอยู่ด้วยกันมากมาย เนื่องจากภาพถ่ายนั้นสะดวกง่ายต่อการใช้งานยิ่งในปัจจุบันมีการสร้างกล้องที่สะดวกต่อการใช้งาน ยิ่งเป็นการง่ายมากกว่าใช้อุปกรณ์อื่นๆ ยิ่งทำให้ผลงานศิลปะการถ่ายภาพมีจำนวนมากกว่าผลงานทางศิลปะแบบอื่นๆ ซึ่งการสร้างผลงานศิลปะผ่านการถ่ายภาพนั้นมีอยู่ด้วยกันมากมายหลายรูปแบบ เช่น ศิลปะการถ่ายภาพคนหรือที่เรียกว่า portrait หรือศิลปะการถ่ายภาพสถาปัตยกรรม หรือศิลปะการถ่ายภาพแนววิจิตร (Fine art) หรือการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะการถ่ายภาพเวลากลางคืน และอื่นๆอีกมากมายหลากหลายรูปแบบ แต่สิ่งสำคัญและมีการนำไปใช้มากที่สุดในการถ่ายภาพศิลปะคือ ศิลปะการถ่ายภาพบุคคล (Portrait) เพราะศิลปะการถ่ายภาพบุคคลสามารถแตกแขนงไปยัง ศิลปะการถ่ายภาพอื่นๆอีกมากมาย เช่น ศิลปะการถ่ายภาพแฟชั่น ศิลปะการถ่ายภาพงานแต่งงาน ศิลปะการถ่ายภาพบุคคล ในสตูดิโอ เป็นต้น และอีกหนึ่งนั้นคือการถ่ายภาพบุคคลในสภาพแวดล้อม หรือจะเรียกว่า Environmental portrait นั้นเอง การถ่ายภาพบุคคลในสภาพแวดล้อมคือการถ่ายภาพบุคคลที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เขาเป็นอยู่จริงๆเพื่อแสดงให้เห็นถึงที่ที่บุคคลนั้นๆ เป็น อยู่ และมีสภาพเป็นอย่างไร ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ชมได้รับทราบหรือเข้าใจได้ว่า บุคคลที่ปรากฏบนภาพถ่ายนั้นๆ เป็นการถ่ายทอดจินตนาการและความรู้สึกจากช่างถ่ายภาพผ่านตัวแบบไปสู่ผู้ชม ที่ต้องการให้เห็นว่าการที่เราถ่ายภาพคนๆนั้นในสภาพแวดล้อมที่เขากำลังเป็นอยู่ เพื่อให้ผู้ชมได้รับทราบ รู้สึกและเข้าใจ ทั้งนี้สิ่งที่สำคัญสูงสุดในภาพถ่าย Environmental Portrait นั้นก็คือตัวแบบและสภาพแวดล้อม ทางหอภาพถ่ายล้านนา ภาควิชาสื่อศิลปะ และการออกแบบสื่อคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการส่งเสริมการศึกษา จึงได้จัดโครงการนิทรรศการผลงานนักศึกษา […]