CHIANGMAI BLOOMS CITY GALLERY

POLLUTION  มลพิษ [มนละพิด] น. พิษที่เกิดจากความมัวหมองหรือความสกปรกของสิ่งแวดล้อม มลพิษคือสิ่งรอบตัวที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ มลพิษเปรียบเสมือนสิ่งที่คอยกัดกินและทำลายเราทีละนิดอย่างช้าๆ ซึ่งในขณะเดียวกันคนรอบตัวก็สามารถสร้างมลพิษได้ในทิศทาง และมีรูปแบบที่แตกต่างกัน ทั้งจากสภาพแวดล้อมทางตรงและทางอ้อม หรือในบางกรณีผู้คนก็สามารถทำให้เกิดมลพิษต่อสภาพจิตใจ  ส่งผลกระทบต่อความรู้สึกผ่านการกระทำบางอย่างทั้งที่เกิดจากความตั้งใจ หรือไม่ตั้งใจก็เป็นได้เช่นกัน ในฐานะที่เราก็เป็นมนุษย์คนหนึ่งที่เคยกระทำผิดพลาด  เราจึงอยากสร้างพื้นที่ขึ้นมาซักที่ ที่ๆผู้คนจะได้ใช้เวลาพิจารณาสิ่งต่างๆรอบตัวมากขึ้นจากการกระทำในอดีตที่ส่งผลกระทบมายังปัจจุบัน ทั้งที่เกิดจากความตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจก็ตาม การกระทำที่ส่งผลทำให้เกิดมลพิษต่อผู้คนหรือสิ่งต่างๆรอบข้างที่ได้กลายเป็นรอยแผลเป็นต่อความรู้สึกจนยากที่จะจางหาย ในบางครั้งเราก็ไม่สามารถย้อนเวลากลับไปแก้ไขอดีตที่ผิดพลาดได้ แต่สิ่งเหล่านี้จะกลายเป็นเครื่องเตือนใจ ที่คอยสอนให้เรารู้จักวิธีการป้องกันไม่ให้มันเกิดขึ้นอีกในอนาคต “หากเราเริ่มเปลี่ยนแปลงบางสิ่งบางอย่างให้ดีขึ้นได้ตั้งแต่ตอนนี้ เมล็ดพันธุ์ที่กำลังจะเติบโตในอนาคต จะได้รับโอกาสในการเบ่งบานในสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้นกว่าเดิม” นรภัทร ศักดิ์อาธรทรัพย์ กันตภณ เมธีกุล

นิทรรศการภาพถ่าย : บุคคลชนชั้นแรงงาน : เชียงใหม่ ประเทศไทย

นิทรรศการภาพบุคคลชนชั้นแรงงาน: เชียงใหม่ ประเทศไทย เป็นชุดผลงานที่บันทึกเรื่องราวของผู้คนในกลุ่มกรรมาชีพเอาไว้ด้วยภาพถ่ายขาวดำจำนวน 55 ภาพ โดยใช้การถ่ายภาพแทนการศึกษากลุ่มผู้ใช้แรงงานในประเทศไทย ซึ่งถูกพบเห็นได้ทั่วไป แต่ไม่บ่อยนักที่จะถูกนำมาพูดถึงอย่างมีนัยยะสำคัญ ผลงานทั้งหมดถูกบันทึกจากบริเวณโดยรอบจังหวัดเชียงใหม่ ยกตัวอย่างเช่น อำเภอสันทราย สารภี สันป่าตอง หางดง แม่ริม และแม่แตง เป็นภาพของกลุ่มผู้ใช้แรงงานหลากหลายของอาชีพที่พบได้ในท้องถิ่น ตั้งแต่ช่างก่อสร้าง ชาวนา และกรรมกร ด้วยการเก็บภาพจากสถานที่ทำงานจริงของคนผู้นั้น ซึ่งภาพผลงานชุดนี้เป็นเหมือนดังการบันทึกและการกระตุ้นเตือนให้ผู้คนได้เห็นถึงความสำคัญของแรงงานผู้อุทิศตน โดยผลงานทั้งหมดในชุดนี้ ยังเป็นงานศิลปนิพนธ์ระดับปริญญาโทของนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประกอบกับงานเขียนที่บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับชนชั้นแรงงานของประเทศไทยอีกด้วย โดยภาพถ่ายผลงานทั้งหมดจะถูกจัดแสดงขึ้นที่หอภาพถ่ายล้านนา จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่วันที่ 8 ไปจนถึงวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2564 กำหนดให้มีพิธีเปิดนิทรรศการในวันที่ 8 มกราคม ในเวลา 18.00 น. เป็นต้นไป

วิถีราชดำเนิน

วิถีราชดำเนิน เป็นการพัฒนาต่อยอดกระบวนการขับเคลื่อนทางสังคม โดยเริ่มจาก โครงการจันทร์ หอม ฮอม แฮง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความร่วมมือในการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน เป็นการทำงานระหว่าง ภาคีเครือข่ายเขียว สวย หอม กลุ่มชุมชนชาวบ้าน หน่วยงานเทศบาลภาคประชาสังคม กลุ่มธุรกิจโรงแรม ร้านค้า ที่มารวมตัวกันเพื่อสร้างต้นแบบในการพัฒนาเมืองที่ยั่งยืน ในด้านเศรษกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ประชุมวางแผน ปัญหาขยะ : ท่อตัน : ทางเท้าชำรุด ประชุมในกลุ่มไลน์ สำรวจพื้นที่ นักศึกษานำเสนอผลงาน  

Museum Thailand Awards 2020 ประเภทพิพิธภัณฑ์ด้านสังคม ศิลปะและวัฒนธรรม

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ(สพร.) หรือ มิวเซียมสยาม จัดพิธีมอบรางวัลพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ดีเด่น ประจำปี 2563 หรือ MUSEUM THAILAND AWARDS 2020 ภายใต้แนวความคิด ความสัมพันธ์ระหว่าง “พิพิธภัณฑ์” กับ “ชุมชน” ในปีนี้หอภาพถ่ายล้านนา ได้รับคัดเลือกให้รับรางวัล Museum Thailand Awards 2020 ประเภทพิพิธภัณฑ์ด้านสังคม ศิลปะและวัฒนธรรม รางวัลดีเด่นด้านอนุรักษ์และสืบสานภาพถ่ายในลักษณะจดหมายเหตุดีเด่น (Digital Media Archive) เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2563 ณ C ASEAN อาคาร CW Tower รัชดา กรุงเทพฯ

พิธีเปิด “นิทรรศการภาพถ่าย Spirit of Floral Exhibitions”

ประธานเปิดนิทรรศการ : นายวิรุฬ พรรณเทวี (รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่) พิธีเปิดนิทรรศการ : 7 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา : 10.00 น.  

Spirit of Floral

นิทรรศการภาพถ่ายครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานเทศกาล “เชียงใหม่ เบิกบาน” CHIANG MAI BLOOMS 2020 โดยความร่วมมือของหอภาพถ่ายล้านนา และผู้จัดเทศกาลดอกไม้ CHIANG BLOOMS ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดสุนทรียะและการสร้างสรรค์ทางด้านศิลปะ และยังเป็นการเชิญชวนให้ผู้คนเกิดความสนใจในธรรมชาติ โดยเฉพาะไม้ดอกไม้ประดับที่ปลูกในจังหวัดเชียงใหม่ ตลอดจนเป็นการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้ชื่อนิทรรศการครั้งนี้ว่า “Spirit of Floral” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 6 กุมภาพันธุ์ – 6 เมษยาน 2563 โดยนำผลงานภาพถ่ายสร้างสรรค์ของศิลปิน 3 ท่าน ประกอบด้วย ช่างภาพ : คุณสุรชัย แสงสุวรรณ (ปุย) ช่างภาพแฟชั่น ชุด DOK “Drag-Queens Blossom” ช่างภาพ : คุณนรภัทร ศักดิ์อาธรทรัพย์ (บอล) ช่างภาพผู้สนใจในการถ่ายภาพดอกไม้ในบริบทต่างๆ รอบตัว ชื่อชุด Six Memories in the Winter Garden (2013)  […]

Chiang Mai REFORM

เมืองเชียงใหม่ตั้งอยู่บนพื้นที่ลุ่มแม่น้ำปิงตอนบนเป็นระยะเวลากว่า 7 ศตวรรษ เป็นทั้งศูนย์กลางทางการเมืองการปกครองและการค้า ขายในภูมิภาค เชียงใหม่จึงเป็นเมืองที่เป็นศูนย์รวมผู้คนจากหลาก หลายภูมิลำเนา ความเป็นศูนย์รวมของผู้คนจากพื้นที่ๆ แตกต่างกัน นั้นยังส่งผลให้เชียงใหม่เป็นเมืองที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ความเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคทำให้เชียงใหม่เป็นเมืองที่มีการพัฒนาต่อเนื่องอยู่เสมอ นับตั้งแต่การก่อตั้งเมืองเป็นศูนย์กลางการ ปกครองของอาณาจักรนครรัฐอิสระแห่งล้านนา การอยู่ภายใต้ อิทธิพลอาณาจักรราชวงศ์ตองอู การผนวกรวมเข้ากับรัฐสยาม และการพัฒนาสู่ความเป็นเมืองสมัยใหม่ที่มั่งคั่งทางเศรษฐกิจแต่ยังคงรากเหง้าทางวัฒนธรรม เมืองเชียงใหม่ได้เผชิญหน้ากับความท้าทาย ต่างๆ มากมายตลอดระยะเวลากว่าเจ็ดร้อยปีและยังคงอยู่ได้จนถึง ปัจจุบัน ส่วนที่ขาดไม่ได้สำหรับการเผชิญหน้ากับความท้าทายตลอด ช่วงเวลาความเปลี่ยนแปลงต่างๆ คือผู้คนในเมืองเชียงใหม่ ทั้ง แรงงาน ช่างฝีมือ นักคิด และนักปกครอง ผู้คอยมีความคิดริเริ่มและ นำมาปฏิบัติเพื่อปฏิรูปชุมชนเมืองแห่งนี้ให้สอดคล้องกับความเป็นไปในด้านต่างๆ ที่ต้องเผชิญ นิทรรศการภาพถ่าย Chiang Mai REFORM เป็นการนำเสนอ ผลงานภาพถ่ายโดยช่างภาพในท้องถิ่น คณาจารย์ และนักศึกษา ที่ สะท้อนให้เห็นเรื่องราวของเมืองเชียงใหม่ทั้งในด้านประวัติศาสตร์ ชีวิตผู้คน สถานที่ และประเด็นความเป็นไปในปัจจุบันของเมือง เชียงใหม่ซึ่งเป็นเมืองที่มีพัฒนาการและการปฏิรูปอย่างไม่เคยหยุดนิ่ง 720 ปีเมืองเชียงใหม่ ENVI PORTRAIT นายศักรินทร์ สุทธิสาร Chiang Mai

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ศึกษาดูงาน

วันที่ 29 พฤศจิกายน 2562 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ได้เข้าศึกษาดูงาน ขั้นตอนการดำเนินงานของหอภาพถ่ายล้านนา

Kaywon School of Art & Design เยื่ยมชอหอภาพถ่ายล้านนา

วันที่ 29 พฤศจิกายน 2562 คณะ Kaywon School of Art & Design จากประเทศเกาหลี ได้เข้าเยี่ยมชมหอภาพถ่ายล้านนา นำโดย คุณYoung Chul, Baik (Professor/Continuing Education FineArt Photography)

EXODUS-DEJAVU

Rahman Roslan  “ไม่ว่าเส้นทางนั้นจะกว้างหรือแคบ แต่ผมต้องการทำประโยชน์ให้กับมนุษยชาติ นี่คือเหตุผลว่าทำไม ผมจึงสนใจภาพถ่ายเชิงสารคดี ผมอยากรู้เห็นประวัติศาสตร์ เวลาที่ผู้คนเล่าเรื่องราวชีวิตให้คุณฟังนั่นจะทำให้คุณกลายเป็นคนที่ดีขึ้น” ราหมันอาศัยในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ชื่นชอบการถ่ายภาพเกี่ยวกับสังคมและผู้คน ผลงานของเขาบ่งบอกรูปแบบการคิดและความรู้สึก เขาเป็นหนึ่งในช่างภาพชาวเอเชียรุ่นใหม่ไฟแรงที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้ารับการอบรมที่จัดขึ้นในเทศกาลภาพถ่ายอังกอร์ ผลงานของเขาหลายชิ้นได้รับการตีพิมพ์โดยสำนักข่าว รอยเตอร์ เอเอฟพี สำนักแพร่ภาพข่าวแห่งยุโรป นิตยสารไทม์ นิวยอร์คไทม์ อินเตอร์เนชันแนลเฮราลด์ทริบูน สเตรทไทม์สิงคโปร์ และอื่นๆ ปัจจุบันเขากำลังศึกษาค้นคว้าประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างอิสลามกับผลกระทบที่มีต่อวัฒนธรรมในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ Issa Touma อิซซา ทูมา เป็นผู้เชี่ยวชาญศิลปะของซีเรีย เขาเริ่มเรียนรู้การเป็นช่างภาพมืออาชีพด้วยตนเองในช่วงต้นปี 1990  แต่เมื่อค้นพบว่าตนเองปลีกแยกออกจากแวดวงศิลปะและการถ่ายภาพนานาชาติเขาจึงเริ่มก่อตั้งห้องแสดงผลงานภาพถ่ายชื่อแบล็คแอนด์ไวท์ในเมืองอเลปโปในปี 2535 และต่อมาแบล็คแอนด์ไวท์ได้ปิดตัวลงในปี 2539  เขาได้ก่อตั้งองค์กรและหอศิลป์ชื่อเลอ ปงต์ ซึ่งเป็นองค์กรอิสระด้านศิลปะที่เน้นรณรงค์เสรีภาพในการแสดงออกและส่งเสริมศิลปะท้องถิ่นด้วยการจัดกิจกรรมระดับนานาชาติ Sergey Ponomarev เซอเก โพโนมาเรียฟ เกิดในกรุงมอสโคว์ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมอสโก และมหาวิทยาลัยแรงงานและสังคมสัมพันธ์ เขาเป็นหนึ่งในช่างภาพชาวรัสเซียรุ่นใหม่ฝีมือชั้นแนวหน้าในปัจจุบัน มีผลงานเป็นที่รู้จักจากการถ่ายภาพข่าวที่สะท้อนวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชาวรัสเซีย ภาพเหตุการณ์สงครามและความขัดแย้งในตะวันออกกลาง รวมทั้งซีเรีย กาซา เลบานอน อียิปต์ และลิเบีย ในปี 2546-2555 เขาเป็นช่างภาพประจำสำนักข่าวแอสโซซิเอทซึ่งเป็นเครือข่ายข่าวระดับโลก ปัจจุบันเขาเป็นช่างภาพอิสระ […]

การบันทึกภาพด้วยกล้องฟิล์มกระจก

Workshop วิธีการทำฟิล์มกระจก วิทยากร กลุ่มผู้สนใจกระบวนการฟิล์มกระจกเปียกในประเทศไทย โดยคุณชัยอนันต์ บุญสูงเนิน คุณอมรรัตน์ อัชฌากุลกิจ และ Mr. Nico Seppe วันที่ 16 พฤศจิกายน 2562 เวลา 13.00-16.00 น.

เสวนาเกี่ยวกับผลงานภาพถ่าย Exodus Déjà-Vu

วันอาทิตย์ ที่ 10 พฤศจิกายน 2562 เวลา 10.00น กิจกรรมการเสวนาโดยคุณ Patrice Vallette และคุณ Roland Neveu เกี่ยวกับผลงานภาพถ่าย โดยมี รศ. กันต์ พูนพิพัฒน์ เป็นผู้ดำเนินงาน และในเวลา 12.00 น วันเดียวกันนั้นจะมีการเปิดฉายภาพยนตร์เรื่อง “Monsieur Lazhar” ภาพยนตร์สัญชาติแคนาดานำเสนอเรื่องราวของครูผู้เป็นผู้ลี้ภัยชาวตะวันออกกลางที่อาศัยอยู่ในประเทศแคนาดา

Exodus Déjà-Vu

พิธีเปิดนิทรรศการภาพถ่าย Exodus Déjà-Vu วันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน 2562 เวลา 17.00 น. พิธีการประกอบด้วยการกล่าวเปิดงานโดย รศ. กันต์ พูนพิพัฒน์ ผู้ก่อตั้งสาขาวิชาศิลปะการถ่ายภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และหอภาพถ่ายล้านนา คุณ Patrice Vallette ผู้ก่อตั้ง Visioncy และภัณฑารักษ์ของนิทรรศการ คุณ Stuart Shaw เลขานุการสถานทูตประเทศแคนาดาประจำประเทศไทย และ คุณ Roland Neveu ช่างภาพมืออาชีพหนึ่งในผู้แสดงผลงาน

ภาพถ่ายฟิล์มกระจกเชียงใหม่ในอดีต

กิจกรรมบรรยายในหัวข้อ “ภาพถ่ายฟิล์มกระจกเชียงใหม่ในอดีต” โดยคุณเอนก นาวิกมูล และ คุณธงชัย ลิขิตพรสรรค์ วันเสาร์ที่ 9 นี้ เวลา 13.00น – 16.00น ที่ หอภาพถ่ายล้านนา

การประยุกต์ใช้โดรนในการถ่ายภาพมุมสูงเบื้องต้น

กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “การประยุกต์ใช้โดรนในการถ่ายภาพมุมสูงเบื้องต้น” ในวันอาทิตย์ที่ 20 ตุลาคม 2562 ณ สนามบินเชียงใหม่ สกาย แอดเวนเจอร์ และ หอภาพถ่ายล้านนา

การบันทึกภาพด้วยกล้อง Large Format 4×5″

ภาพบรรยากาศ กิจกรรมบรรยายเชิงปฏิบัติ หัวข้อ การบันทึกภาพด้วยกล้อง Large Format 4×5″ วันที่จัดกิจกรรม 19 ตุลาคม 2562 เวลา 9.00 – 17.00 น. สถานที่ หอภาพถ่ายล้านนา ถนนพระปกเกล้า ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50200

นิทรรศการ ภูมิทัศน์วัฒนธรรมลุ่มน้ำปิงตอนบน

ภาพบรรยากาศ กิจกรรมเสวนาและพิธีเปิดนิทรรศการ “ภูมิทัศน์วัฒนธรรมลุ่มน้ำปิงตอนบน” วันที่จัดกิจกรรมและเปิดนิทรรศการ 4 ตุลาคม 2562 เวลาเปิดนิทรรศการ 18.00 น. สถานที่ หอภาพถ่ายล้านนา ถนนพระปกเกล้า ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50200 เครดิตภาพ :Tabtim Manmak

นิทรรศการ ภูมิทัศน์วัฒนธรรมลุ่มน้ำปิงตอนบน

หมวด…ฝายและประตูระบายน้ำ ฝาย  มีลักษณะเป็นเขื่อนน้ำล้นใช้สำหรับการเปลี่ยนขนาดและรูปแบบการไหลของแม่น้ำ ประโยชน์ของฝายมักจะถูกใช้ในการป้องกันน้ำท่วม เก็บน้ำบริเวณต้นน้ำ และบริหารทรัพยากรน้ำ เมื่อน้ำบริเวณต้นน้ำมีปริมาณความสูงน้อยกว่าความสูงของฝายน้ำจะถูกกักเก็บไว้ แต่เมื่อระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นน้ำจะไหลข้ามไปยังท้ายน้ำ การแบ่งประเภทของฝายมีการแบ่งหลากหลายรูปแบบ เช่นแบ่งตามระยะเวลาการใช้งานเป็น (1) ฝายถาวร และ (2) ฝายชั่วคราว หรือแบ่งตามลักษณะวัสดุ เช่น (1) ฝายโครงสร้างไม้ (2) ฝายหินทิ้ง (3) ฝายหินก่อบนดินถมอัดแน่น (4) ฝายคอนกรีต ประตูระบายน้ำ  ใช้ควบคุมการไหลของน้ำในแม่น้ำ เพื่อจะใช้สำหรับในการปรับปริมาณน้ำที่ต้องการให้ไหลผ่าน ปรับความเร็วของน้ำหรือใช้ในการกักเก็บน้ำได้ ในกรณีน้ำท่วม ประตูระบายน้ำใช้ในการลดระดับของผิวน้ำสำหรับแม่น้ำ โดยให้น้ำไหลผ่านคลองลัดน้ำ เมื่อปริมาณระดับน้ำใกล้ล้นตลิ่งหมวด…วัดและชุมชน หมวด…วัดและชุมชน การสร้างวัดในพระพุทธศาสนามีมาแต่โบราณกาล เมื่อประชาชนมีจิตศรัทธาในพุทธศาสนา เมื่ออพยพไปตั้งถิ่นฐานอยู่ ณ ที่ใด ก็มักจะสร้างวัดขึ้นเพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ หลังจากนั้นแล้วก็นิมนต์พระสงฆ์ไปพำนักในวัดนั้นๆเพื่อบำเพ็ญกุศลและประกอบศานกิจ ตามประเพณีสืบต่อกันมา  ในอดีตวัดเป็นสถานที่ที่พุทธศาสนิกชนทั่วไปได้ใช้เป็นสถานที่สำหรับศึกษาหาความรู้ด้านวิชาชีพ และศิลปกรรมแขนงต่างๆ รวมทั้งเป็นศูนย์กลางการบริหารและการปกครอง จึงถือได้ว่า วัดเป็นศูย์กลางของชุมชนไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน   หมวด …ผู้คนและสายน้ำ  คนเมือง มีวิถีชีวิตที่เกี่ยวพันกับสายน้ำมาอย่างยาวนาน  ก่อให้เกิดชีวิต  การประกอบสัมมาอาชีพที่แตกต่างกันออกไปตามบริบทของสังคม โดยสะท้อนภาพผ่านประวัติศาสตร์ สังคม ประเพณี วัฒนธรรม […]

เมืองเชียงใหม่

พิธีเปิดนิทรรศการภาพถ่าย “เมืองเชียงใหม่ ภาพถ่ายจากฟิล์มกระจกโดยหลวงอนุสารสุนทรกิจ” ตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม ถึง 28 พฤศจิกายน 2562 ณ หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่

เมืองเชียงใหม่

ภาพถ่ายฟิล์มกระจก โดย หลวงอนุสารสุนทร (สุ่นฮี้ ชุติมา 2410-2477) หลวงอนุสารสุนทร (สุ่นฮี้ ชุติมา) เป็นพ่อค้าชาวจีน เป็นบุตรของนายต้อย นางแว่น แซ่ฉั่ว ต้นตระกูลคือ นายซ้อและนางหงส์ แซ่แต้ เป็นคนจีนอพยพขึ้นเหนือไปอยู่นครสวรรค์เป็นแห่งแรก ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2 และต่อมาค่อย ๆ ย้ายไปอยู่ลำปาง ลำพูน ในที่สุดตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เชียงใหม่เป็นการถาวรจนบัดนี้  หลวง อนุสารฯ อุตสาหะทำการค้าขายโดยนำสินค้าบรรทุกเรือค้ำถ่อหางแมงป่องจากเชียงใหม่ไปกรุงเทพฯ นอกจากนี้ยังเปิดห้างซัวย่งเส็ง ขายเครื่องอุปโภคบริโภคให้แก่หมอสอนศาสนา ชาวต่างชาติ เจ้านายฝ่ายเหนือและราชนิกูลจากสยาม รวมถึงการเปิดสตูดิโอ “ซัวย่งเส็ง” รับถ่ายภาพแห่งแรก ๆ ของเชียงใหม่ หลวงอนุสารฯ สนใจการถ่ายภาพได้เรียนทักษะการถ่ายภาพจาก พระยาเจริญราชไมตรี (จำนง อมาตยกุล) อดีตข้างหลวงอธิบดีผู้พิพากษาและข้าหลวงพิเศษจัดการศาลมณฑลพายัพในสมัยนั้น ภาพถ่ายผลงานหลวงอนุสารฯ บันทึกเรื่องราวในช่วงรัชกาลที่ 5 ถึงต้นรัชกาลที่ 8 (ประมาณปี พ.ศ.2440 – 2470) ผลงานภาพถ่ายโดยหลวงอนุสารฯ ไม่เคยตีพิมพ์ที่ไหนมาก่อน บันทึกเรื่องราวการค้าขายทางเรือ ตลาด […]

กล้องถ่ายภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวดิจิตอลระบบ EOS R

ภาพบรรยากาศ กิจกรรมเสวนา เรื่องกล้องถ่ายภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวดิจิตอลระบบ EOS R และการตัดต่อและเกรดสีภาพยนตร์ด้วยโปรแกรม Davinci Resolve วันที่จัดกิจกรรม 15 กันยายน 2562 เวลาจัดแสดง 9.30 – 17.30 น. สถานที่ หอภาพถ่ายล้านนา ถนนพระปกเกล้า ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50200

กิจกรรมเสวนา “ก่อนหมดสิ้นสับขาลาย”

ภาพบรรยากาศ กิจกรรมเสวนา “ก่อนหมดสิ้นสับขาลาย” วันที่จัดกิจกรรม 14 กันยายน 2562 เวลาจัดแสดง 13.00 – 16.30 น. สถานที่ หอภาพถ่ายล้านนา ถนนพระปกเกล้า ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50200

รอยแห่งวัฒนธรรม

ภาพบรรยากาศ วันเปิดนิทรรศการ “รอยแห่งวัฒนธรรม” วันที่จัดกิจกรรม 26 กรกฏาคม – 29 กันยายน 2562 เวลาจัดแสดง 8.30 – 16.30 น. สถานที่ หอภาพถ่ายล้านนา ถนนพระปกเกล้า ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50200

รอยแห่งวัฒนธรรม

“หากไม่เปิดเปลือยจะไม่รู้ว่ามีความงามใดซ่อนอยู่.. หากไม่สังเกต อาจหลงเข้าใจว่าบุรุษนุ่งเตี่ยวยืนกลางลำธารใสเย็น ..” ตามตำนานที่เล่าขานมาสู่ยุคปัจจุบันและภาพที่ปรากฏบนจิตรกรรมฝาผนังอายุนับร้อยปีในหลายภูมิภาค ในอดีตนับร้อยหรืออาจย้อนไปนับพันปี แผ่นดินไทยทางภาคกลางตอนบน ภาคเหนือ และภาคอีสาน เคยปรากฏรูปแบบศิลปะแห่งการ “สัก” บนเรือนกายท่อนล่าง นับจากเอวสู่ต้นขา อาจยาวไปถึงโคนเข่า หรือปลายเท้า มีลักษณะคล้ายคลึงกันในบุรุษชาติพันธุ์เดียวกัน แต่มีเอกลักษณ์เฉพาะของลวดลายที่แตกต่างจากลายสักของชนชาติพันธุ์อื่น ความงดงามที่ดูเข้มขลังนี้ถูกเรียกขานจากผู้ที่พบเห็นด้วยชื่อที่บ่งบอกถึงลักษณะที่ปรากฏว่า “สักขาลาย” “สักหมึก” “สักเตี่ยวก้อม” “สักกางเกง” ฯลฯ ในอดีต “บุรุษ” ของกลุ่มชาติพันธุ์ในดินแดนล้านนา อาทิ คนเมือง (ไตยวน) ไทใหญ่ (ไต) ลัวะ (ละว้า) กะเหรี่ยง (ปกาเกอะญอ หรือ ยาง) ไทลื้อ (ไตลื้อ) ขมุ (ลาวเทิง) ฯลฯ เมื่อย่างเข้าสู่วัยฉกรรจ์มีจำนวนมากที่อยากเป็นส่วนหนึ่งในการสืบทอดลวดลายโบราณที่มีแบบแผนอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะในแต่ละชาติพันธุ์ เป็นความงามที่สืบต่อมาจากรุ่นสู่รุ่น อาจหลายร้อยปีหรือนับพันปี ถือเป็นตัวแทนศิลปะบนเรือนกาย เป็นความงามที่ต้องอดทนต่อความเจ็บปวดที่อาจต้องแลกด้วยชีวิต จึงมีคำบอกเล่าว่า “คนในยุคนั้นหากไม่ใช้ฝิ่นจะไม่สามารถทนต่อความเจ็บปวดได้” และไม่ใช่เรื่องแปลกที่ในทุกสิบคนจะมีคนเสียชีวิตสองถึงสามคนเสมอ แต่คนส่วนใหญ่ถือว่าคุ้มค่า เป็นความภาคภูมิใจที่จะปรากฏอยู่บนเรือนร่างและคงอยู่ตราบลมหายใจสุดท้ายของชีวิต โดยมีคำกล่าวหยอกล้อในหมู่ผู้เฒ่าที่ปรากฏในทุกพื้นที่ของการเดินทางบันทึกภาพว่า “กบเคียดขามันยังลาย ถ้าป้อจายขาบะลายบะเอามาแป๋งผัว” […]

Photo Art Workshop 2019

ภาพบรรยากาศกิจกรรม Photo Art Workshop 2019 วันที่จัดกิจกรรม 29 มิถุนายน และ 6-7 กรกฏาคม 2562 เวลาจัดแสดง 8.30 – 18.00 น. สถานที่ หอภาพถ่ายล้านนา ถนนพระปกเกล้า ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50200

Institut de Recherche pour le De’veloppement

วันที่จัดกิจกรรม 21 มิถุนายน 2562 เวลาจัดแสดง 15.00 – 17.00 น. สถานที่ หอภาพถ่ายล้านนา ถนนพระปกเกล้า ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50200

Chiang Mai Film Photo Walk & Challenge Week

บรรยากาศกิจกรรม Photo Walk และรีวิวนิทรรศการ โดยพี่ซัน Artyt Sun Lerdrakmongkol วันที่จัดกิจกรรม 19 พฤษภาคม 2562 เวลาจัดแสดง 9.00 – 16.00 น. สถานที่ หอภาพถ่ายล้านนา ถนนพระปกเกล้า ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50200

กิจกรรมพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับการสร้างสรรค์ภาพถ่ายทั้งในเชิง Commercial และงานที่เป็น Personal Project

ภาพบรรยากาศกิจกรรมการบรรยายจากพี่เล็ก เกียรติศิริขจร  ณ หอภาพถ่ายล้านนา โดยพี่เล็กได้มาพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับการสร้างสรรค์ภาพถ่ายทั้งในเชิง Commercial และงานที่เป็น Personal Project วันที่จัดกิจกรรม 18 พฤษภาคม 2562 เวลาจัดแสดง 13.00 – 16.00 น. สถานที่ หอภาพถ่ายล้านนา ถนนพระปกเกล้า ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50200

1 2 3