EXODUS-DEJAVU

Rahman Roslan 

“ไม่ว่าเส้นทางนั้นจะกว้างหรือแคบ แต่ผมต้องการทำประโยชน์ให้กับมนุษยชาติ นี่คือเหตุผลว่าทำไม ผมจึงสนใจภาพถ่ายเชิงสารคดี ผมอยากรู้เห็นประวัติศาสตร์ เวลาที่ผู้คนเล่าเรื่องราวชีวิตให้คุณฟังนั่นจะทำให้คุณกลายเป็นคนที่ดีขึ้น”

ราหมันอาศัยในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ชื่นชอบการถ่ายภาพเกี่ยวกับสังคมและผู้คน ผลงานของเขาบ่งบอกรูปแบบการคิดและความรู้สึก เขาเป็นหนึ่งในช่างภาพชาวเอเชียรุ่นใหม่ไฟแรงที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้ารับการอบรมที่จัดขึ้นในเทศกาลภาพถ่ายอังกอร์ ผลงานของเขาหลายชิ้นได้รับการตีพิมพ์โดยสำนักข่าว รอยเตอร์ เอเอฟพี สำนักแพร่ภาพข่าวแห่งยุโรป นิตยสารไทม์ นิวยอร์คไทม์ อินเตอร์เนชันแนลเฮราลด์ทริบูน สเตรทไทม์สิงคโปร์ และอื่นๆ ปัจจุบันเขากำลังศึกษาค้นคว้าประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างอิสลามกับผลกระทบที่มีต่อวัฒนธรรมในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้

Issa Touma

อิซซา ทูมา เป็นผู้เชี่ยวชาญศิลปะของซีเรีย เขาเริ่มเรียนรู้การเป็นช่างภาพมืออาชีพด้วยตนเองในช่วงต้นปี 1990 

แต่เมื่อค้นพบว่าตนเองปลีกแยกออกจากแวดวงศิลปะและการถ่ายภาพนานาชาติเขาจึงเริ่มก่อตั้งห้องแสดงผลงานภาพถ่ายชื่อแบล็คแอนด์ไวท์ในเมืองอเลปโปในปี 2535 และต่อมาแบล็คแอนด์ไวท์ได้ปิดตัวลงในปี 2539 

เขาได้ก่อตั้งองค์กรและหอศิลป์ชื่อเลอ ปงต์ ซึ่งเป็นองค์กรอิสระด้านศิลปะที่เน้นรณรงค์เสรีภาพในการแสดงออกและส่งเสริมศิลปะท้องถิ่นด้วยการจัดกิจกรรมระดับนานาชาติ

Sergey Ponomarev

เซอเก โพโนมาเรียฟ เกิดในกรุงมอสโคว์ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมอสโก และมหาวิทยาลัยแรงงานและสังคมสัมพันธ์ เขาเป็นหนึ่งในช่างภาพชาวรัสเซียรุ่นใหม่ฝีมือชั้นแนวหน้าในปัจจุบัน มีผลงานเป็นที่รู้จักจากการถ่ายภาพข่าวที่สะท้อนวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชาวรัสเซีย ภาพเหตุการณ์สงครามและความขัดแย้งในตะวันออกกลาง รวมทั้งซีเรีย กาซา เลบานอน อียิปต์ และลิเบีย

ในปี 2546-2555 เขาเป็นช่างภาพประจำสำนักข่าวแอสโซซิเอทซึ่งเป็นเครือข่ายข่าวระดับโลก ปัจจุบันเขาเป็นช่างภาพอิสระ ได้รับรางวัลภาพถ่ายทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ รางวัลที่เขาได้รับล่าสุดคือ รางวัลชนะเลิศประเภทภาพข่าวทั่วไปในการประกวดภาพถ่ายเวิร์ลเพรสเพื่อวิกฤตผู้ลี้ภัยในยุโรป เขาได้รับรางวัลพูลิตเซอร์ สาขาภาพข่าวด่วนเมื่อปี 2559 ชนะเลิศประเภทภาพข่าวเด่นในการประกวดภาพถ่ายอิสตันบุล และได้รับเลือกให้เป็นกรรมการในการประกวดภาพถ่ายอิสตันบุล ประจำปี 2560

Guillermo Arias 

กิเยโม อารียาส เริ่มทำงานเป็นช่างภาพในปีค.ศ.1993 ในเมือง Tepic ประเทศเม็กซิโก ขณะนี้เขาพำนักอยู่ในเมือง Tijuana เขาร่วมงานกับ Agence France Press (AFP) อยู่เป็นประจำ อีกทั้งเขายังทำงานให้กับ Associated Press เป็นช่างภาพสัญญาจ้างในระหว่างปีค.ศ. 2001 ถึง 2011 เเละเป็นช่างภาพประจำให้กับ Xinhua News agency สาขาอเทริกาใต้ในระหว่างปีค.ศ. 2011ถึง 2016 กิเยโมมีชื่อติดรางวัลมากมาย ซึ่งรวมไปถึงรางวัลชมเชย สาขาปัญหาร่วมสมัยของ World Press Photo ปี 2010, ชนะเลิศอันดับหนึ่งในด้านเรื่องราวข่าวใน Istanbul Photo Awards ปี 2019, รางวัลชมเชยทั้งในสาขาเรื่องราวภาพข่าวในประเทศและสาขาภาพข่าวเดี่ยว ใน THe Best of photojournalism ปี 2010, รางวัลดีเด่น Photographers Giving Back award, อันดับหนึ่งรางวัล New Picture of the Year 2009

Roland Neveu

โรลองด์ เนอเวอ เป็นช่างภาพชาวฝรั่งเศส เริ่มต้นอาชีพช่างภาพในช่วงต้นปี 2514 โดยถ่ายภาพการประท้วงต่อต้านด้านสงครามเวียดนาม เขาเคยเป็นหนึ่งในช่างภาพข่าวชาวตะวันตกที่อายุน้อยเพียงไม่กี่คนที่อยู่ในเหตุการณ์การล่มสลายของเขมรแดงในปี 2515 ในกรุงพนมเปญ จากนนั้นเขาเริ่มมีชื่อเสียงเพราะฝีมือดารถ่ายภาพอันโดดเด่น เขาใช้เวลาเกือบ 20 ปีเดินทางไปยังเขตสงครามทั่วโลกเพื่อบันทึกภาพให้กับนิตยสารชั้นนำ เช่น ไทม์ และนิวส์วีค เขาบันทึกภาพนักโทษของโซเวียตที่เป็นนักรบมูจาอิดีนในอัฟกานิสถานในสมัยแรก และภาพการยึดครองกรุงเบรุตในปี 2525 รวมทั้งภาพถ่ายการนองเลือดในเอลซัลวาดอร์ สงครามกองโจร NPA ในฟิลิปปินส์ ไปจนถึงภาพของผู้ติดเชื้อเอดส์ในอูกันดาในปี 2529 ชื่อเสียงระดับสากลในฐานะที่เป็นช่างภาพข่าวทำให้เขาได้เป็นที่ยอมรับในด้านอุตสาหกรรมภาพยนต์ เขาได้ร่วมงานกับผู้กำกับภาพยนต์ที่โด่งดังหลายคนในฮอลลีวู้ด เช่น โอลิเวอร์ สโตน, ไบรอัน เดอ พัลมา, และริดเลย์ สก๊อตต์

Yalda Moaiery

เกิดในปีค.ศ. 1982 ในกรุงเตหะราน เทศอิหร่าน เธออายุเพียง 19 ปี เมื่อเธอเริ่มถ่ายภาพข่าวสงครามในประเทศอัฟกานิสถาน ในปีค.ศ. 2011 สองปีหลังจากนั้น เธอเดินทางสู่ประเทศอิรักเพื่อรายงานข่าวสงครามด้วยภาพถ่าย ผลงานของเธอมุ่งเน้นไปที่การแสดงให้เห็นเหตุการณ์ตามความเป็นจริงที่น่าสลดใจ เช่น เหตุคลื่นสึนามิในประเทศอินโดนีเซีย (2004) แผ่นดินไหวในประเทศปากีสถาน (2005) สงครามในประเทศเลบานอน (2006) การรบในประเทศจอร์เจีย (2008) และความอดอยากในประเทศโซมาเลีย (2011) ภาพถ่ายของเธอถูกตีพิมพ์ลงบนนิตยสารและหนังสือพิมพ์ระดับนานาชาติ ยกตัวอย่าง เช่น Time, Newsweek, Le Maonde, El Paris, San Francisco Chronicle, Le Figaro และอื่นๆ เธอมีโอกาสได้แสดงภาพถ่ายในนิทรรศการเดี่ยวทั้งในกรุงปารีส เตหะราน และประเทศบังคลาเทศ อีกทั้งผลงานของเธอยังได้อยู่ในส่วนหนึ่งของนิทรรศการกลุ่มอีกมากมายในกรุงลอนดอน และปารีส เธอพักอาศัยในกรุงเตระหาน ประเทศอิหร่าน ในปีค.ศ. 2017 และในขณะนี้เธอยังเป็นหัวหน้าสมาชิกสมาคมช่างถ่ายภาพชาวอิหร่าน

COSKUN ARAL

โจซคุน อารัล เริ่มทำงานอาชีพช่างภาพสื่อมวลชนในปี 2517 โดยทำงานให้กับหนังสือพิมพ์GunaydinและGun ในปี 2519 

ต่อมาเขาทำงานเป็นผู้สื่อข่าวประจำสำนักข่าว SIPA ในกรุงปารีส มีผลงานปรากฎในนิตยสารต่างๆ เช่น ไทม์ และนิววีค ขณะเดียวกันเป็นช่างภาพอิสระให้กับสำนักข่าวตรุกี หนังสือพิมพ์ Milliyet และ Hurriyet เขาเคยสัมภาษณ์สลัดอากาศที่จี้เครื่องบินเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2523 ซึงกระตุ้นวงการสื่อและได้รับรางวัลมากมายทั้งในตรุกีและต่างประเทศ 

ตั้งแต่ปี 2523 เป็นต้นมาเขาถ่ายภาพเหตุการณ์ในสนามรบและเขตความขัดแย้งจนเกือบทุกพื้นที่ ได้เห็นวิกฤตการณ์ผู้ลี้ภัยนับครั้งไม่ถ้วน

Greg Constantine

เกร็ก คอนสแทนทีน ช่างภาพสารคดีชาวอเมริกัน/แคนาเดียน ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เขาอุทิศตนให้กับการถ่ายภาพเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน ความไมาเสมอภาครวมไปจนถึงความอยุติธรรมต่างๆ มาโดยตลอด เขาใช้เวลากว่า 11 ปี ในโครงการ Nowhere People 

เพื่อบันทึกภาพชีวิต การต่อสู้ดิ้นรนของคนไร้รัฐใน 19 ประเทศทั่วโลก คือ บังกลาเทศ เมียนมาร์ เนปาล มาเลย์เซีย ศรีลังกา เคนยา ไอวอรีโคสท์ สาธารณรัฐโดมินิกัน ยูเครน เซอ์เบีย อิตาลี ฮอลแลนด์ สหราชอาณาจักร อิรัก คูเวต และเลบานอน เขาเริ่มบันทึกภาพการข่มเหงคนไร้รัฐชาวโรฮิงยาตั้งแต่ปี 2549

Atilgan Ozdil 

อาทิลกาน ออสดิล เกิดในปีค.ศ. 1985 ในกรุงอิสตันบูล เป็นช่างภาพข่าวพำนักอยู่ในนครนิวยอร์ก ที่ๆ เขาทำงานให้กับ Anadolu Agency

ในปีค.ศ.2010 เขาเริ่มทำงานเป็นช่างภาพให้กับหนึ่งในหนังสือพิมพ์ที่โด่งดังที่สุดในตุรกีและหลังจากนั้นในปีค.ศ.2012 เขาจึงเริ่มทำงานให้กับ Anadolu Agency ภายในช่วงระยะเวลานั้น อาทิลกานได้รับมอบหมายให้ถ่ายภาพผู้ย้ายถิ่นฐานชาวมาเลี่ยนในประเทศมอริเตเนีย สงครามกลางเมืองในซีเรีย พายุเฮอริเคนฟลอเรนซ์ ขบวนผู้ย้ายถิ่นฐานใน Tijuana ประเทศเม็กซิโก และการสู้รบ การประท้วง ภัยธรรมชาติ และเหตุการณ์ร้ายแรงอื่นๆ

ในระหว่างที่อาศัยอยู่ในนครนิวยอร์ก เขาได้รับทำงานในต่างแดนหลายงานในนามของ Anadolu Agency ซึ่งรวมถึงขบวนผู้ย้ายถิ่นฐานในปี 2018 จำนวนผลงานของเขาดึงดูดความสนใจและได้รับการเผยแพร่โดยสื่อระดับนานาชาติหลากหลายสำนักอาทิเช่น Time, the New York Times, the Guardian, Bloomberg, BBC, Huffington Post, the Telegraph, ฯลฯ

Fabiola Ferrero

ฟาบิโอล่า เฟอเรโร เป็นนักข่าวและช่างภาพชาวเวเนซุเอลาผู้ทำข่าวในพื้นที่แถบอเมริกาใต้ ผลงานส่วนบุคคลของเธอเป็นผลจากการที่ความทรงจำเกี่ยวกับประเทศเวเนซุเอลาในวัยเด็กของเธอนั้นแตกต่างจากสถานการณ์ในปัจจุบันที่เธอกำลังใช้ชีวิตอยู่ ท้งปัญหาด้านเศรษฐกิจ ความรุนแรงทางการเมือง และความโศกเศร้าที่เกิดขึ้นเป็นแรงจูงใจให้เธอเริ่มสำรวจสภาพสังคมที่ตกอยู่ภายใต้ความเป็นอริและมุ่งเน้นให้ความสำคัญในด้านสภาพความเป็นอยู่ของคนในสังคมผ่านการเขียนและการถ่ายภาพ เธอใช้การถ่ายภาพรวมถึงทักษะด้านอื่นๆ เพื่อพัฒนาการสืบเรื่องราวที่มีพื้นฐานมาจากการศึกษาวิจัย

เธอเป็นสมาชิกในโครงการ World Press Photo 6×6 Talent Program South America โครงการ VII Mentor Program แลพ Magnum Fellow ผลงานภาพถ่ายของเธอพร้อมด้วยผลงานการสืบเรื่องราวข่าวด้วยตนเองในพื้นที่อเมริกาใต้ทำให้งานของเธอได้ถูกตีพิมพ์ลงบน Time, The New York Times, M Magazine, Le Monde, The Wall Street Journal, Bloomberg Business Week, BBC และอื่นๆ

สุเทพ กฤษณาวารินทร์

เป็นช่างภาพข่าวชาวไทยที่นำเสนอถ่ายภาพประเด็นสิ่งแวดล้อม สังคม และมนุษยธรรมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาเกือบ 2 ทษวรรษ เขาเชื่อว่าการเป็นช่างภาพข่าวจะต้องเป็นผู้มีมโนธรรมในการสังเกตการณ์ทางสังคมและวัฒนธรรม โดยต้องทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมทั้งในระดับประเทศและระดับโลก

เขาเจาะลึกเรื่องโรฮิงยาตั้งแต่ปี 2552 โดยบันทึกภาพการเดินทางชาวโรฮิงยาที่เต็มไปด้วยภัยอันตรายจากเมียนมาร์และบังคลาเทศมายังไทย มาเลย์เซีย อินโดนีเซีย และแม้แต่ออสเตรเลีย รวมทั้งความลำบากแสนเข็ญที่ชาวโรฮิงยาเผชิญ